We must survive คนใกล้ชิดเสี่ยง/ติดเชื้อโควิด-19 แล้วคุณจะรอดไหม?
ความปลอดภัยอย่างสูงสุด มีสติระวังตัว อย่าชะล้าใจ ณ วันนี้สถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ยังคงน่าเป็นห่วงในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทุกคน Panic เราติดเชื้อหรือยัง คำถามนี้ยังวนเวียนอยู่ในความคิด และถ้ามีคนติดเชื้อโควิด-19 อยู่ในคอนโด ในหมู่บ้าน ในออฟฟิศ เราควรทำอย่างไร เราติดไหม ขอให้ทุกท่านรักษาระยะห่าง ล้างมือให้บ่อยขึ้น และงดใช้พื้นที่ส่วนรวม และหากประเมินความเสี่ยงแล้ว พบว่าเป็น เสี่ยงสูง ควรกักตัวเฝ้าระวัง และตรวจเชื้อ ส่วนรายละเอียดต้องมีปัจจัยอะไรที่สำคัญบ้าง ดูแลตัวเอง ดูแลบ้าน ถ้าหาก คนใกล้ชิดเสี่ยงหรือติดเชื้อโควิด-19 แล้วคุณจะรอดไหม? มาติดตามกัน
การแจ้งข่าวและอัพเดตข้อมูลให้ทันท่วงที
แหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เป็นสิ่งสำคัญ แต่ต้องประกอบกับระยะเวลาที่รวดเร็วทันท่วงที หากอยู่ในหมู่บ้าน คอนโด ข้อมูลที่ได้จากนิติบุคคลก็นับว่าสำคัญและมีประโยชน์ต่อลูกบ้านอย่างมาก และสำหรับพนักงานการรับข่าวสารประกาศจากฝ่ายบุคคลก็นับว่าสำคัญอย่างยิ่ง องค์กรควรออกประกาศชี้แจงกรณีมีพนักงานติดเชื้อ หรือเป็นผู้เสี่ยงสูงให้พนักงานทุกคนได้ทราบ เพื่อให้พนักงานคนอื่นๆ หรือผู้ที่มาติดต่อในช่วงเวลานั้น มีการเฝ้าระวังตนเอง ออกมาตรการให้พนักงานทำงานที่บ้านหรือประชุมผ่านระบบ video conference เพราะเราจะสามารถป้องกันหรือแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที รวมถึงประเมินความเสี่ยงของตัวเองได้อย่างถูกต้อง
อย่าเพิ่ง Panic ให้รักษาระยะห่าง ล้างมือให้บ่อยขึ้น และงดใช้พื้นที่ส่วนรวม
หากได้รับแจ้งว่ามีผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 หรือเป็นผู้เสี่ยงสูง ในคอนโด หมู่บ้าน หรือบริษัท แล้ว สิ่งที่ควรทำคือ เราต้องระมัดระวังตัวเองมากขึ้น หมั่นล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ งดใช้ส่วนกลางหรือพบปะผู้คนในช่วงนี้ไปก่อน พยายามอยู่แต่ภายในห้องพักของตัวเอง เพื่อที่จะได้ไม่ไปรับเชื้อ หรือแพร่เชื้อภายนอก แล้วรอฟังข้อมูลที่แน่ชัดจากนิติบุคคลหรือบริษัทอีกครั้ง เพราะเค้าต้องมีการตรวจสอบ Timeline ของผู้ป่วยก่อน ว่าเริ่มมีอาการป่วยเมื่อไหร่ มีการใช้งานส่วนกลางที่ไหน/ช่วงเวลาใดบ้าง จากนั้นเราจึงนำข้อมูลนั้นมาพิจารณาเพื่อประเมินความเสี่ยงของตัวเอง ถ้าเรามีการพบปะ / ใช้งานส่วนกลางช่วงเวลาเดียวกับผู้ป่วย หรือพักอาศัยในโซน/ชั้นเดียวกัน ทำงานในแผนกเดียวกัน มีต้องประสานงาม ร่วมงานกัน เราอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงหรือไม่ ประเมินตัวเองเราจึงค่อยไปตรวจที่โรงพยาบาลเพื่อความแน่ใจอีกครั้ง
อย่าเพิ่งรีบไปตรวจที่โรงพยาบาลทันทีที่รู้ว่า มีคนติดโควิด !!
เบื่องต้นคือการประเมินความเสี่ยงของตนเอง เพราะถ้าเราไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้ออยู่แล้ว ก็เท่ากับว่าเรากำลังเอาตัวเองไปอยู่ในกลุ่มคนเยอะๆ ที่โรงพยาบาลข้างนอก บางคนต้องไปนั่งรอต่อคิว 3 – 4 ชม. กว่าจะได้ตรวจก็มี และถ้าพบว่าตนเองเสี่ยงสูง มีการใกล้ชิดผู้ป่วย ควรไปตรวจ ถ้าผลตรวจออกมาแล้วว่าเรามีการติดเชื้อ COVID-19 ก็จำเป็นต้องรีบแจ้งให้ทางนิติบุคคล และบริษัททราบโดยทันที
มีอาการผิดปกติ ติดหรือยัง
หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ทันที ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นหลังจากได้รับเชื้อมาแล้วอย่างน้อย 3 – 7 วัน และถึงแม้ว่าเราจะไปตรวจที่โรงพยาบาลทันทีที่รับเชื้อมา ก็จะยังตรวจไม่พบเชื้อ COVID-19 อยู่ดี และปัจจุบันเชื้อมีหลากหลายสายพันธุ์มาก ซึ่งความรุนแรงและอาการผิดปกติก็จะแตกต่างกันออกไป และแม้ว่าผลตรวจรอบแรกจะออกมาแล้วว่าเราปกติดี แต่ถ้าใครที่ยังคงเป็นกังวล และคิดว่าตัวเองคือ “กลุ่มเสี่ยง” ผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร (close contact) ที่มีโอกาสอาจได้รับเชื้อสูง ควรเฝ้าระวังตนเองเป็นเวลา 14 วัน ควรตรวจหาเชื้อซ้ำ 2 – 3 รอบ เพราะลักษณะอาการของเชื้อแต่ละสายพันธุ์ และสภาพร่างกายของคนเราไม่เหมือนกัน ซึ่งปัจจัยที่สำคัญคือการกักตัว หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ เป็นการลดการแพร่เชื้อไปสู้ครอบครัว คนภายนอก และรับผิดชอบต่อสังคม
ทำความสะอาดที่พัก พื้นที่ส่วนตัว
- ทำความสะอาด ฆ่าเชื้อพื้นที่ที่สัมผัสบ่อยเช่น ลูกบิดประตู รีโมทคอนโทรล ที่จับเปิด-ปิดตู้เย็น ก๊อกน้ำ สวิทช์ไฟ โทรศัพท์ หรือส่วนที่มีการจับต้องบ่อยๆ คนในบ้านใช้ร่วมกันบ่อยๆ ควรใช้แอลกอฮอล์ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์มากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ หรือใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อจากสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรด์หรือคลอรีนน้ำที่มีความเข้มข้น 02 เปอร์เซ็นต์ เช็ดทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง
- เปิดประตู-หน้าต่าง รับแสง รับลม สร้างความปลอดโปร่งโดยสามารถเปิดทิ้งไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก รวมทั้งยังสามารถเปิดม่านให้แสงเข้าถึงภายในบ้านบ้าน เพื่อป้องกันมุมอับชื้นเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ซึ่งจากงานวิจัยของ WHO เชื้อไวรัสโควิด-19 นั้นไม่ถูกกับพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก หรือพื้นีท่ที่มีแสงแดด หรืออุณหภูมิที่ร้อนจัด
- ฆ่าเชื้อทำความสะอาดพื้นที่ห้องน้ำให้สะอาดเสมอส่วนของห้องน้ำที่ถูกสัมผัสบ่อยสามารถใช้แอลกอฮอล์ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์มากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ หรือคลอรีนน้ำซึ่งมีความเข้มข้น 02 เปอร์เซ็นต์ เช็ดทำความสะอาดได้
- ทำความสะอาดแผ่นกรอง และส่วนที่ใช้ดักกันฝุ่นเข้าบ้านโดยแผ่นกรองและส่วนดักฝุ่น เช่น มุ้งลวด มู่ลี่ จะกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคทันที หากมีผู้ที่ป่วยเป็นโควิดจับสัมผัส แล้วไม่มีการนำไปเช็ดล้าง ทำความสะอาด และฆ่าเชื้อ ดังนั้นพื้นที่เหล่านี้จึงควรมีการทำความสะอาดบ่อยๆ โดยถอดไปล้างน้ำเปล่าก่อน จากนั้นใช้สบู่พร้อมแปรงขัดก่อนนำไปผึ่งตากแดดให้แห้ง
- ทิ้งขยะอย่างถูกต้อง ลดแพร่เชื้อโควิดการทิ้งขยะอย่างถูกต้องโดยเฉพาะหน้ากากอนามัย กระดาษทิชชู่ หรือผ้าที่ใช้ซับเช็ดน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะ จะช่วยให้สมาชิกในบ้านห่างไกล และปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ โดยควรทิ้งในถังขยะที่มีถุงพลาสติกรองรับ ผูกมัดให้มิดชิด และระวังอย่าสัมผัสโดนของที่ทิ้งโดยตรง เพื่อป้องกันเชื้อโควิดเกาะติดมือ
อ่านเพิ่มเติม How to kill the virus ฆ่าเชื้อไวรัสวิธีไหน ให้ออฟฟิศและบ้านของคุณ สะอาด ปลอดภัย
We must survive คนใกล้ชิดเสี่ยง/ติดเชื้อโควิด-19 แล้วคุณจะรอดไหม? เชื่อว่าคำถามนี้ยังก้องอยู่ในหัว แต่สิ่งที่จะทำให้เราสบายใจขึ้นได้ คือการมีสติระวังตัวอยู่เสมอ และสิ่งสำคัญที่สุดคือ การเว้นระยะห่าง Social Distancing และควรหมั่นล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ หลีกเลี่ยงการออกไปพื้นที่สาธารณะโดยไม่จำเป็น Work from Home เพื่อลดการแพร่เชื้อและถ้ามีความผิดปกติก็ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะถ้าเชื้อ COVID-19 ยังไม่ลงไปทำลายปอดหรือระบบทางเดินหายใจ ก็ยังสามารถรักษาให้หายได้โดยเร็ว และก็อย่าลืมแจ้งกับทางนิติบุคคล ฝ่ายบุคคลให้รับทราบโดยเร็วที่สุด เพื่อที่จะได้ลดความเสี่ยงไม่ให้เชื้อกระจายเป็นวงกว้างไปมากกว่าเดิม คงไม่มีใครอยากเป็นคนแพร่เชื้อไปสู้คนใกล้ชิดครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ขอให้ทุกคนอย่าประมาท เข้าใจเป็นอย่างยิ่งหลายครอบครัวกำลังประสบกับวิกฤษนี้ พบกับความสูญหายบุคคลอันเป็นที่รัก ขอส่งกำลังใจให้คนไทยผ่านวิกฤษไปได้ สุขภาพแข็งแรง เราต้องสู้ เราต้องรอด We must survive