Warehousing cost บริหารคลังสินค้า โกดังยังไงให้ลดต้นทุน

ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารคลังสินค้าเป็นหนึ่งในต้นทุนหลักที่ธุรกิจที่มีคลังสินค้าหรือโกดังเป็นส่วนประกอบต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับคลังสินค้าสามารถนำมาวิเคราะห์ให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการบริหารงานภายในคลังสินค้า นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนตัวนี้ยังสามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยตัดสินใจในการเลือก outsource วันนี้เราจะพาไปดูกันว่าค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการมีคลังสินค้าหรือโกดังนั้นมีอะไรบ้าง ค่าใช้จ่ายในการบริหารคลังสินค้าควรเป็นจำนวนเท่าไหร่ และค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนในการบริหารคลังสินค้าหรือโกดังของท่านมากเกินไปหรือไม่ มาติดตามกัน Warehousing cost บริหารคลังสินค้า โกดังยังไงให้ลดต้นทุน

ต้นทุนการบริหารคลังสินค้า (Warehousing cost) คืออะไร ?

 

ต้นทุนการบริหารคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง ประกอบไปด้วย 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ ต้นทุนการบริหารคลังสินค้า (Warehousing cost) เกิดจากการดำเนินกิจกรรมการให้บริการภายในคลังสินค้า การจัดเก็บสินค้า การเลือกสถานที่ตั้งโรงงานและคลังสินค้า ซึ่งมีลักษณะเดียวกับต้นทุนการขนส่งที่ผู้ประกอบการสามารถดำเนินงานเองที่เรียกว่า In-house และการจ้างให้ผู้อื่นๆ ดำเนินการให้หรือเช่าที่ผู้อื่น ที่เรียกว่า Outsource และ ต้นทุนในการถือครองสินค้า (Inventory carrying cost) คือต้นทุนในการถือครองสินค้าหรือค่าเสียโอกาสที่เงินทุนไปจมอยู่ในสินค้า รวมถึงต้นทุนค่าดอกเบี้ย ค่าประกันสินค้า

การจัดการเพื่อลดต้นทุนในคลังสินค้า

  1. ลดข้อผิดพลาดในการทำงาน ความผิดพลาดเล็กๆน้อยๆที่เกิดขึ้นในการทำงาน ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดต้นทุนที่อาจมองว่าเล็กน้อยในเรื่องของเวลา แต่ลองเก็บข้อมูลของเวลาที่สูญเสียไปดู แล้วแปลงมาเป็นต้นทุนที่จับต้องได้ มันคงเป็นความสูญเสียที่ไม่น้อยเลยทีเดียว
  2. ลดการเก็บสินค้าในคลัง วิธีการCross Docking วิธีการ Cross Docking เป็นการรับสินค้าเข้าเพื่อกระจายออกไปยังลูกค้าทันที ไม่มีการนำสินค้าเก็บในคลัง การทำ Cross Docking จะช่วยลดต้นทุนได้มากเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนการจัดการสินค้าที่อยู่ในคลัง หรือต้นทุนค่าแรงในการเคลื่อนย้ายสินค้าในคลัง
  3. การใช้ระบบอัตโนมัติหรือเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการ ในบางจุด หากสามารถเปลี่ยนไปใช้ระบบอัตโนมัติได้ จะเป็นการลดต้นทุนที่ดีเยี่ยม อาทิเช่น การใช้รางเลื่อนหรือสายพาน ในการช่วยเคลื่อนย้ายสินค้า เพื่อประหยัดเวลาและแรงงานและเป็นการลดการใช้แรงงานสิ้นเปลือง ใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีให้คุ้มค่าที่สุด
  4. การใช้พื้นที่ให้คุ้มค่า ลองสำรวจภายในคลังสินค้าของคุณดูสิว่า บางพื้นที่ คุณจัดเรียงสินค้าอย่างเปลืองพื้นที่มากไปหรือไม่ โดยอาจมีการจัดเก็บเป็นพื้นที่ในแนวดิ่งมากขึ้น แทนที่จะใช้พื้นที่ในแนวราบอย่างเดียว, มีการจัดการหรือกำจัดสินค้าที่เป็นประเภทDead stock ออกไปจากคลังสินค้า หรือ พาลเลทที่ใช้บางอันก็ใหญ่เกินไป ทำให้เปลืองพื้นที่ใช้สอย ควรจะเปลี่ยนเป็นพาลเลทที่มีขนาดเหมาะสม
  5. ควบคุมสภาพแวดล้อมในคลังสินค้าให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม สภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ หรือความชื้นอากาศ ที่มีผลกระทบต่อสินค้าภายในคลัง ควรมีการจัดการ ควบคุม และดูแลเพื่อให้สินค้าที่อยู่ในคลังไม่ได้รับความเสียในจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมนั้นๆ จนทำให้ไม่สามารถขายสินค้าได้แล้วเกิดเป็นความสูญเสียเกิดขึ้น
  6. มีการบำรุงรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์และระบบต่างๆอย่างต่อเนื่อง เครื่องมือ หรือ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้งานมันก็จะเสื่อมไปตามการเวลาการใช้งาน ถ้าไม่ได้มีการบำรุงรักษาก็อาจะส่งผลให้เกิดอันตรายกับการใช้งานของพนักงาน หรือ อาจจะเกิดความผิดพลาดในเรื่องของการขนส่ง เป็นต้น ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพโดยรวมของการบริหารงานคลังสินค้า ดังนั้นเครื่องมือ อุปกรณ์และระบบต่างๆ ควรมีการตั้งตารางเพื่อตรวจจเช็คและบำรุงรักษาอยู่อย่างสม่ำเสมอ
  7. ประหยัดพลังงาน ต้นทุนในการจัดเก็บสินค้าอีกตัวหนึ่งที่ต้องนึกถึง คือ เรื่องพลังงาน ลองนึกถึงระบบที่ใช้ช่วยประหยัดพลังงาน อย่างเช่นใช้ระบบไฟฟ้าแบบออโตเมติก กำกับควบคุมการใช้ไฟและน้ำจากพนักงาน, เปลี่ยนการใช้น้ำมันกับรถโฟล์คลิฟท์ เป็นแก๊ส, เปลี่ยนหลอดไฟนีออนเป็นหลอดประหยัดพลังงาน หรือแม้กระทั่งเปลี่ยนกระเบื้องบางแผ่น ให้เป็นแผ่นโปร่งแสง ลงทุนครั้งเดียว แต่ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว
  8. กระตุ้นให้พนักงานมีส่วนร่วมในการช่วยกันลดต้นทุน พนักงานที่ทำงานอยู่หน้างานทุกวัน จะสังเกตได้อย่างชัดเจนว่า ตรงจุดไหนของการทำงานที่ใช้พลังงานอย่างไร้ค่า ตรงจุดใด ที่สามารถปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น หรือ ปรับปรุงงานเพื่อให้ลดระยะเวลาและลดค่าใช้จ่ายได้
  9. ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ควรมีการทำและตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง เพราะมิเช่นนั้นกิจกรรมต่างๆ ที่เราตั้งใจทำเพื่อเป็นโครงการลดต้นทุน ไม่ว่าจะเป็น การลดการเคลื่อนย้ายที่ไม่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน, ลดสินค้าคงคลังที่ไม่ก่อนประโยชน์, ลดการเก็บสินค้าคงคลังให้น้อยลงจะเป็นการกระทำที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ที่เห็นเป็นประสิทธิพล หรือ ในทางตรงกันข้ามอาจจะก่อให้เกิดความวุ่นวายจากการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ต่อเนื่องตามมาภายหลัง

ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารคลังสินค้าและโกดัง

  • ค่าเสื่อมคลังสินค้าหรือโกดัง ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนหลักตัวแรกที่เราจะพูดถึงก็คือ ค่าเสื่อมอาคารคลังสินค้าหรือโกดัง ซึ่งก็คือมูลค่าการก่อสร้างของคลังสินค้าหรือโกดังของท่าน แต่มีระยะเวลาที่ท่านสามารถใช้งานอาคารนั้น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องค่ะ โดยปกติแล้วค่าเสื่อมคลังสินค้าตามหลักของบัญชีจะคิดอยู่ที่ 20 ปี
  • ค่าเช่าคลังสินค้าหรือโกดัง ในกรณีที่ท่านผู้ประกอบการไม่ได้สร้างคลังสินค้าหรือโกดัง แต่เลือกใช้เป็นการเช่าคลังสินค้าหรือเช่าโกดังแทน กรณีนี้จะไม่มีค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่เกี่ยวกับค่าเสื่อมอาคาร แต่ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนหลักจะกลายเป็นค่าเช่าคลังสินค้าหรือค่าเช่าโกดังแทนค่ะ ซึ่งโดยปกติแล้วค่าเช่าโกดังคลังสินค้าจะจ่ายเป็นรายเดือน สามารถคำนวนหาค่าเช่าที่ต้องจ่ายต่อปีได้โดยการ นำค่าเช่าต่อเดือนคูณด้วยจำนวน 12 เดือน
  • ค่าเสื่อม Rack และพาเลท ค่าเสื่อมของ Rack โดยทั่วไปจะคิดอยู่ที่ประมาณ 5 ปี ส่วนพาเลทนั้นค่าเสื่อมจะขึ้นอยู่กับอายุการใช้งาน โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 3 ปี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขึ้นอยู่กับการคิดต้นทุนของแผนกบัญชีของแต่ละบริษัท
  • ค่าเสื่อมราคาหรือค่าเช่าของอุปกรณ์ขนถ่าย ค่าเสื่อมของอุปกรณ์ขนถ่าย เช่น รถโฟล์คลิฟท์ ลิฟท์ทัค พาวเวอร์พาเลท เป็นต้น โดยทั่วไปทางบัญชีจะคิดค่าเสื่อมอยู่ที่ 5 ปี ดังนั้นถ้าอยากจะทราบค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์เหล่านั้นให้นำราคาที่ซื้อมาตั้งแล้วหารด้วยจำนวน 5 ปี ก็จะได้ต้นทุนค่าเสื่อมต่อปี หรือถ้าหากบริษัทไม่ได้ซื้ออุปกรณ์เหล่านี้แต่ใช้เป็นการเช่ารายเดือนแทน ก็สามารถคำนวณต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายต่อปีได้โดยการนำค่าเช่าต่อเดือนมาคูณด้วย 12 เดือน ก็จะได้ต้นทุนค่าเช่าของอุปกรณ์ขนถ่ายต่อปี
  • ค่าเสื่อมของอุปกรณ์สำนักงานและค่าอุปกรณ์สิ้นเปลืองต่าง ๆ อุปกรณ์สำนักงาน เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องปริ้น เครื่องถ่ายเอกสาร เป็นต้น ที่สำหรับไว้ใช้ในหน่วยงานคลังสินค้า  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะคิดค่าเสื่อมอยู่ที่ 3-5 ปีแล้วแต่บัญชีของแต่ละบริษัท ซึ่งต้องนำมาร่วมคำนวณเป็นต้นทุนของโกดังหรือคลังสินค้า
  • ค่าเช่าลิขสิทธิ์โปรแกรมบริหารคลังสินค้า ค่าเช่าลิขสิทธิ์ของโปรแกรมต่างๆที่ใช้ในการบริหารคลังสินค้า เช่น โปรแกรมที่ใช้ในสำนักงาน หรือโปรแกรมคลังสินค้า WMS เป็นต้นซึ่งอาจจะเป็นการจ่ายเป็นรายเดือนหรือรายปี ก็ต้องรวบรวมนำมาคำนวณเป็นต้นทุนของคลังสินค้าด้วย
  • ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ตและน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และค่าน้ำมันเชื่อเพลิง ถือเป็นอีกหนึ่งในค่าใช้จ่ายหลักของคลังสินค้า โดยเฉพาะบางคลังสินค้าที่มีระบบห้องเย็นหรือมีการทำงานเป็นกะแบบ 24 ชั่วโมง ยิ่งทำให้ค่าน้ำและค่าไฟมีอัตราการใช้ที่สูงตามไปด้วยค่ะ ค่าน้ำและค่าไฟฟ้าสามารถนำมาคำนวณได้โดยการรวบรวมค่าน้ำและค่าไฟฟ้าที่คลังสินค้าใช้จริงในแต่ละเดือน นำมารวมคำนวณเป็นต้นทุนคลังสินค้าแบบรายปี
  • ค่าซ่อมบำรุงอาคาร โดยธรรมชาติของอาคารคลังสินค้าหรืออาคารโกดัง ฃนั้นเหมือนอาคารอื่น ๆ โดยทั่วไปที่ต้องได้รับการซ่อมบำรุงรักษาเมื่อใช้ไปได้ระยะหนึ่ง ซึ่งค่าซ่อมบำรุงอาคารคลังสินค้านั้นสามารถนำมารวบรวมเป็นรายปีเพื่อไว้คำนวณเป็นต้นทุนในการบริหารคลังสินค้าค่ะ ซึ่งจะมากหรือน้อยนั้นจะขึ้นอยู่กับอายุของตัวอาคารและคุณภาพของการก่อสร้างด้วย ยิ่งอาคารโกดังหรือคลังสินค้าที่มีอายุเยอะจะยิ่งมีโอกาสสูงที่ค่าซ่อมบำรุงอาคารในแต่ละปีจะสูงตามไปด้วย
  • ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นภาษีที่เริ่มใช้แล้วในปี 2563 นี้ โดยอัตราภาษี 2 ปีแรก (พ.ศ.2563-2564) จะเก็บภาษีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นนอกจากการประกอบเกษตรกรรมและเป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งรวมถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ด้านพาณิชยกรรม ห้าง ร้าน สำนักงาน โรงงาน โกดัง คลังสินค้า เป็นต้น ในอัตราดังนี้
    • มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท                คิดอัตราภาษี 0.3%
    • มูลค่า 50-200 ล้านบาท                  คิดอัตราภาษี 0.4%
    • มูลค่า 200-1,000 ล้านบาท            คิดอัตราภาษี 0.5%
    • มูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท         คิดอัตราภาษี 0.6%
    • มูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป            คิดอัตราภาษี 0.7%
  • ค่าเงินเดือนและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน เงินเดือนของพนักงานประจำทั้งหมดของแผนกคลังสินค้าตั้งแต่ระดับปฏิบัติการไปจนถึงผู้จัดการคลังสินค้า นำทุกตำแหน่งมาคำนวณดูว่าต่อปีเงินเดือนของทั้งแผนกคลังสินค้านั้นมีมูลค่าเท่าไหร่ จะได้ออกมาเป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายด้านเงินเดือนต่อปีค่ะ นอกจากนี้ยังรวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานไม่ว่าจะเป็น ค่าล่วงเวลา ประกันสังคม โบนัส สวัสดิการต่าง ๆ ก็ต้องนำมาคิดโดยรวมต่อปีเพื่อนำมาร่วมคำนวณในต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายคลังสินค้า
  • ค่าประกันภัยในคลังสินค้า บริษัทโดยส่วนใหญ่ที่มีคลังสินค้าจะมีการทำประกันภัยทั้งสำหรับสินค้าคงคลังและสำหรับอาคารคลังสินค้า ซึ่งค่าเบี้ยประกันทั้งสองประเภทนี้นับว่าเป็นค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนสำหรับคลังสินค้าเช่นเดียวกันค่ะ โดยปกติแล้วเบี้ยประกันอาคารและสินค้าคงคลังจะชำระเป็นรายปี ส่วนค่าเบี้ยจะมากหรือน้อยนั้นจะขึ้นอยู่กับทุนประกันและเงื่อนไขความคุ้มครองต่าง ๆ ตามแต่ตกลงกับบริษัทประกันภัย

เปอร์เซ็นต์ต้นทุนการบริหารคลังสินค้าต่อยอดขาย

หากท่านผู้ประกอบการต้องการจะทราบว่าคลังสินค้าหรือโกดังของบริษัทของท่าน มีการบริหารงานในคลังสินค้าได้มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด หรือคลังสินค้าของท่านมีค่าใช้จ่ายมากเกินไปหรือไม่ ท่านสามารถดูได้จาก “เปอร์เซ็นต์ต้นทุนการบริหารคลังสินค้าต่อยอดขาย” “เปอร์เซ็นต์ต้นทุนการบริหารคลังสินค้าต่อยอดขาย” สามารถคิดได้โดยนำต้นทุนที่ได้ทั้งหมดต่อปีที่เราได้เตรียมไว้แล้วข้างต้น มาคำนวณหาต้นทุนการบริหารคลังสินค้าต่อยอดขาย ซึ่งสามารถคำนวณได้ดังต่อไปนี้

(ต้นทุนคลังสินค้าทั้งหมดต่อปี/ยอดขายต่อปี) x100 = เปอร์เซ็นต์ต้นทุนการบริหารคลังสินค้าต่อยอดขาย

X เปอร์เซ็นต์ต้นทุนการบริหารคลังสินค้าต่อยอดขาย ซึ่งหมายความว่าทุก ๆ ยอดขาย 100 บาท จะมีต้นทุนในการบริหารคลังสินค้าอยู่ที่จำนวน X บาท เปอร์เซ็นต์ต้นทุนในการบริหารคลังสินค้า เป็นหนึ่งใน KPI หลักที่ผู้จัดการคลังสินค้าและผู้บริหารต้องคอยมอนิเตอร์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมอีกด้วยค่ะ

โดยสรุปค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนในการบริหารคลังสินค้านั้นมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น ค่าเสื่อมคลังสินค้า ค่าเช่า ค่าเสื่อม Rack พาเลท ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ต น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าซ่อมบำรุงอาคาร ค่าเงินเดือน ค่าประกันภัย เป็นต้น นอกจากค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนคลังสินค้าที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังอาจมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคลังสินค้าและโกดังอื่นๆ ได้อีก เช่น ค่ารักษาความปลอดภัย ค่าระบบป้องกันอัคคีภัย ค่า Pest Control เป็นต้น ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแต่ละบริษัทค่ะ อย่างไรก็ตามยิ่งสามารถเก็บค่าใช้จ่ายมาคำนวณต้นทุนได้ละเอียดเท่าไหร่ ยิ่งสามารถรู้ต้นทุนที่แท้จริงและสะท้อนประสิทธิภาพในการบริหารคลังสินค้าได้ดียิ่งขึ้น

บทความที่น่าสนใจ :
คุยกับสถาปนิค – 10 เทคนิควางแผนสร้างคลังสินค้า บริหารใช้งานเต็มประสิทธิภาพ

Safety first งานก่อสร้างได้มาตรฐาน ความปลอดภัยต้องมาก่อน

Distribution Center สร้างศูนย์กระจายสินค้า ก้าวนำหน้าธุรกิจโลจิสติกส์

Online seller build a warehouse อยากเป็นแม่ค้าออนไลน์ สร้างคลังสินค้าระดับ 1,000 ล้านต้องทำไง

Warehousing cost บริหารคลังสินค้า โกดังยังไงให้ลดต้นทุน สร้างคลังสินค้าโกดังรวมไปถึงการบริหารคลังสินค้าโกดัง ต้องคำนึงถึง ต้นทุนทั้งหมด และการลดต้นทุน ประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นเรื่องสำคัญ ที่ต้องคำนึงถึง การบริหารคลังสินค้าไปให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ดูแลนั้นช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า สร้างคลังสินค้าต้องมีการวางแผนทั้งระบบและ ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการควบคุมการก่อสร้างคลังสินค้า และบริหารคลังสินค้า

Sources:
https://www.facebook.com/logisticsconsult
https://www.facebook.com/logisticsconsult/videos/3897892490327241
http://www.agriman.doae.go.th/home/news2/Logistics/Binder%204.pdf
https://www.proindsolutions.com/17378419/ให้เช่าคลังสินค้า
https://www.logisticafe.com/2010/01/ต้นทุนคลังสินค้า-warehousing-cost/
https://hmgroupthailand.com//th/blog/detail/10tipsforstockmanagement
Images from:
https://www.freepik.com/