โครงสร้างสนามกีฬาที่ดีที่สุดในอาเซียน ด้วยเหล็กโครงถัก (Truss structures)
สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (เอเอฟซี) ประกาศผลโหวตสนามฟุตบอลที่ดีที่สุดในอาเซียนออกมาเรียบร้อยแล้ว หลังเปิดโอกาสให้แฟนบอลเข้าไปร่วมโหวตตั้งแต่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมา ปรากฏว่า เกโลรา บุง การ์โน รังเหย้าของอินโดนีเซีย ได้รับการโหวตให้เป็นสนามกีฬาที่ดีที่สุดในอาเซียน สนามเกลอรา บังการ์โน สเตเดียม Stadion Utama Gelora Bung Karno จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย มีความจุอยู่ที่ประมาณ 80,000 ที่นั่ง เป็นสนามที่ใช้ได้หลายประเภท ตั้งอยู่ใน เกลอรา บังการ์โน สปอร์ตส คอมเพลกซ์ ในเขตเสนายัน ใจกลางเมืองจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยเป็นชื่อหลังจาก ซูการ์โน เป็นประธานีธิบดีของอินโดนีเซีย โดยส่วนมากจะใช้ในการแข่งขันฟุตบอล สามารถจุผู้ชมได้มากถึง 88,083 คน โดยสนามจะแบ่งเป็น 24 ส่วน กับ 12 ทางเข้า เพื่อเข้าไปในพื้นที่ส่วนบนและส่วนล่าง โดยคุณสมบัติพิเศษของสนามนี้คือ “โครงสร้างหลังคา เป็นโครงสร้างเหล็กขนาดใหญ่เป็นวงแหวนรอบสนาม” โดยเรียกว่า “เตอมูเกอลัง” (แปลว่า แหวนที่บรรจบติดกัน) นอกจากการที่ไม่ให้ผู้ชมต้องนั่งชมตากแดดที่ร้อนแล้ว วัตถุประสงค์อีกอย่างหนึ่งก็คือ การที่ทำให้สนามนี้ดูยิ่งใหญ่อีกด้วย แล้วการก่อสร้างโครงสร้างหลักคา โครงทรัสหรือโครงถักจะมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง
โครงทรัส หรือ โครงถัก (Truss structures) ในงานสถาปัตยกรรมโครงสร้างเหล็ก โครงสร้างหลังคา
โครงถักในงานโครงสร้างสถาปัตยกรรม มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโครงข้อหมุน เป็นโครงสร้างที่เกิดขึ้นจากการนำเอาชิ้นส่วนวัสดุอย่างเหล็ก และไม้เนื้อแข็ง (ส่วนมากนิยมใช้เหล็ก) มาประกอบเข้าด้วยกันเป็นโครงสร้างรูปทรงเรขาคณิตแบบต่างๆ โดยยึดปลายทั้งสองของชิ้นส่วนต่างๆให้ยึดติดกัน และสามารถถ่ายแรงเฉือน แรงตามแนวแกน และโมเมนต์ดัดให้กันได้อย่างทั่วถึงด้วยวิธีการเชื่อม การใช้หมุดย้ำ หรือ การใช้น๊อต เพื่อให้ได้โครงสร้างที่มีน้ำหนักเบา รับน้ำหนักได้มาก ให้ความสวยงาม และสามารถวางพาดในรูปแบบโครงสร้างช่วงพาดกว้าง หรือ โครงสร้างช่วงยาวได้ โดยไม่ต้องมีเสามาค้ำตรงกลาง เพื่ออรรถประโยชน์ในการใช้งานพื้นที่ได้สูงสุด และลดการบดบังทัศนียภาพจากเสาค้ำที่อยู่ภายในอาคาร
โครงทรัส หรือ โครงถักนิยมนำไปใช้ในงานโครงสร้างทางวิศวกรรม และสถาปัตยกรรมประเภทต่างๆมากมาย อย่างเช่น อาคารคลังสินค้า โกดัง โครงหลังคาโรงอาหาร, โครงสร้างรับน้ำหนักอัฒจรรย์, โครงสร้างอาคารขนาดกลาง-ใหญ่พิเศษ, โครงหลังคาหอประชุม หรือ โรงมหรสพขนาดใหญ่, โครงหลังคาสนามกีฬาในร่ม, โครงหลังคาสนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่, โครงหลังคาห้องโถงนิทรรศการ, โครงหลังคาโรงงานอุตสาหกรรม, โครงหลังคาศูนย์จัดแสดงสินค้า, โครงหลังคาศูนย์การค้า, โครงหลังคาสถานีรถไฟ สนามบิน และสถานีขนส่ง, โครงหลังคาโดมอเนกประสงค์, โครงสร้างสะพาน และอาคารพิเศษแบบต่างๆ
ภาพประกอบ : https://decode.uai.ac.id/?p=2436
ประเภทของโครงทรัส หรือ โครงถัก (Truss structures)
สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
โครงถักอย่างง่าย หรือ โครงถักแบบดีเทอร์มิเนทสแตติกส์ (Statically Determinate Truss) เป็นรูปแบบโครงถักที่สามารถวิเคราะห์หาค่าแรงกระทำต่างๆได้ด้วยสมการสมดุล
โครงถักอย่างยาก หรือ โครงถักแบบอินดีเทอร์มิเนทสแตติกส์ (Statically Indeterminate Truss) เป็นรูปแบบโครงถักที่จำเป็นต้องคำนวณหาค่าแรงกระทำต่างๆด้วยหลักการทางคณิตศาสตร์ขั้นสูง ซึ่งจะแปรผันไปตามรูปแบบของโครงถักในการนำไปใช้งานกับโครงสร้างที่ค่อนข้างมีความซับซ้อน
รูปแบบของโครงถัก
ก็สามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ 3 รูปแบบ คือ
โครงถักแบบโครงหลังคา
โครงถักแบบโครงสะพาน
โครงถักแบบโค้งประทุน
โครงถักโดยทั่วไปทำจากเหล็ก มีความเหนียวคงทนต่อแรงกระทำในระนาบต่างๆได้ดี ประกอบติดตั้งได้เร็ว มีคุณสมบัติในการต้านภัยธรรมชาติได้ดี เนื่องจากเหล็กมีความยืดหยุ่นและรับการบิดได้มากกว่าโครงถักที่ทำจากไม้ อีกทั้งยังสามารถทำโครงถักสำหรับโครงสร้างช่วงพาดกว้าง หรือ โครงสร้างช่วงยาว ในอาคารขนาดกลาง-ใหญ่พิเศษได้ ซึ่งโครงถักไม้มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถทำได้ สำหรับในประเทศไทยนั้น เหล็กที่สามารถนำมาประกอบทำโครงทรัส หรือ โครงถัก (Truss structures) แบบต่างๆไม่ว่าจะเป็นเหล็กกลม หรือ เหล็กกล่อง จะต้องได้รับมาตรฐานดังนี้ ม.อ.ก.107, ม.อ.ก. 276 , BS 1387, JIS G3444, JIS G3452(SGP) , ASTM A500, AS 1163, EN 10219
อ้างอิง : www.wazzadu.com
ภาพประกอบ : https://www.travellink-indonesia.com/2017/01/fakta-sejarah-asal-usul-stadion-gelora.html