โควิด-19 ทำพิษปิดแคมป์คนงาน 30 วัน ก่อสร้างกระทบ 4 หมื่นล้าน

ประเทศไทยกลับเข้าสู่วิกฤษอีกครั้ง โควิด-19 ระบาดหนัก ไทยกลายเป็นประเทศที่มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทุบสถิติตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา หลังจากมีคลัสเตอร์แคมป์คนงานก่อสร้าง ทำให้มีราชกิจจาฯ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินใน 10 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ นครปฐม สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ให้ปิดแคมป์คนงานก่อสร้าง งดการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นเวลา 1 เดือน  สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว ห้ามนั่งรับประทานอาหารในร้าน ห้างสรรพสินค้าเปิดได้ถึง 21.00 น. ห้ามรวมกลุ่มเกิน 20 คนทำให้หลายฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็นถึงผลกระทบที่จะตามมา ในหลายด้านทั้งในส่วนของ เศรษฐกิจ ความปลอดภัย กับระยะเวลาการดำเนินงานที่ต้องหยุดลง ทำให้ไม่สามารถส่งมอบงานได้ และกระทบกับรายได้ของคนงาน หลายแสนคน กับการประกาศล็อกดาวน์ ปิดแคมป์คนงาน 30 วัน คาดกระทบ 4 หมื่นล้านบาท

หุ้น “รับเหมา” ร่วงยกแผง กดกำไรกลุ่มวัสดุฯ 5–10%

ความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในกลุ่มรับเหมาก่อสร้างเช้าวันนี้ (28 มิถุนายน) ได้ปรับลดลงจากผลกระทบการปิดแคมป์อย่างเห็นได้ชัด

  • CK ซื้อขายที่ 90 บาท ลดลง -3.08%
  • STEC ซื้อขายที่ 60 บาท ลดลง -2.16%
  • SEAFCO ซื้อขายที่ 56 บาท ลดลง -3.80
  • PYLON ซื้อขายที่ 40 บาท ลดลง -2.22%
  • RT ซื้อขายที่ 46 บาท ลดลง -2.38%

และจะกดดันกำไรผู้ประกอบการกลุ่มรับเหมาก่อสร้างและวัสดุก่อสร้างราว 5-12% ต่อเดือน เนื่องจากผู้ประกอบการยังต้องแบกรับต้นทุนแรงงานอยู่ และการที่ต้องปิดแคมป์คนงานและไซต์ก่อสร้างทำให้ไม่สามารถส่งมอบงานได้ การรับรู้รายได้จึงไม่เกิดขึ้น

ภาครัฐเยี่ยวยา กับเงินกู้และประกันสังคม 7.5 พันล้าน

กว่า 83,375 คน จำนวนคนงานในแคมป์ก่อสร้างทั่วกรุงเทพฯ 3-5 ล้านคน จำนวนคนงานในแคมป์ก่อสร้างทั่วประเทศ กว่า 697,000 คน จำนวนแรงงานใน 6 จังหวัด งบประมาณจากเงินกู้และประกันสังคม 7.5 พันล้านบาท  ที่เยียวยาผู้ประกอบการ-แรงงาน 6 จังหวัด สุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน แถลงผลการหารือร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ กระทรวงแรงงานจะชดเชยเยียวยาพี่น้องแรงงานจากเหตุสุดวิสัย 50% ของค่าจ้าง แม้ต้องหยุดงาน แต่กระทรวงแรงงานจะถือเงินสดไปจ่ายให้ที่แคมป์คนงานทุก 5 วัน ส่วนเรื่องอาหารการกินอยู่เจ้าของกิจการจะดำเนินการเอง และรัฐดูแลบางส่วน  แรงงานที่ไม่มีประกันสังคม ทางผู้ประกอบการต้องช่วยแบ่งเบา และเร่งดำเนินการฉีดวัคซีนให้เร็วที่สุด

ความเห็นสภาหอการค้าฯ “ปิดแคมป์ 30 วัน กระทบ 4 หมื่นล้าน”

อิสระ บุญยัง ประธานคณะกรรมการอสังหาริมทรัพย์ออกแบบและก่อสร้าง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ระบุ มาตรการนี้ส่งผลกระทบมากกว่าที่คิด” “ผลของคำสั่งดังกล่าว ครอบคลุมไปถึงแคมป์คนงานก่อสร้างในโครงการบ้านจัดสรรหรือโครงการแนวราบด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ไม่พบปัญหาคลัสเตอร์โควิด เพราะการพักอาศัยในแคมป์มีพื้นที่กว้างกว่า ทำให้อยู่กันแบบหลวม ๆ และจำนวนคนงานก็น้อยกว่า ไม่เหมือนแคมป์คอนโดมิเนียมที่มีจำนวนคนงานเยอะกว่า” จำนวนของแคมป์คนงานก่อสร้าง ยังไม่ชัดเจนนัก เนื่องจากไม่มีตัวเลขภาพรวมเพราะเอกชนไม่เคยเก็บสถิติไว้ แต่จากจำนวนของโครงการที่เปิดขึ้นมา คาดว่าไม่ต่ำกว่า 1,000 แคมป์ขึ้นไป

“ถามว่ามูลค่าการก่อสร้างมีเท่าไหร่ คำนวณเร็ว ๆ เปรียบเทียบกับมูลค่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทยเฉลี่ยปีละ 6-7 แสนล้านบาท อยู่ในเขตกรุงเทพ-ปริมณฑลสัดส่วน 70% เท่ากับเป็นมูลค่าปีละ 4-5 แสนล้านบาท ถ้าหากต้องหยุดก่อสร้างแบบกระทันหันนานถึง 1 เดือน ผลกระทบน่าจะมีมูลค่าตกเดือนละ 3.5-4 หมื่นล้านบาท ที่สำคัญ ตัวเลขนี้ยังไม่รวมมูลค่าการใช้วัสดุ งานตกแต่ง และการก่อสร้างงานภาครัฐที่มีการก่อสร้างถนน ทางด่วน รถไฟฟ้า ซึ่งหากนำมารวม ผลกระทบน่าจะมากกว่านี้อีกมหาศาล”

รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ อาจารย์สาขาวิศวกรรมปฐพี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ออกมาเตือน

เรื่องนี้ว่า “งานขุดระดับลึกลงไปตั้งเเต่ 5 เมตรจนบางที่ถึง 30 เมตร ในพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นงานที่ยากเเละอันตรายระดับต้น ๆ ในงานด้านโยธาในโลกนี้ เพราะพื้นดินกรุงเทพฯ เป็นดินอ่อน เเถมปัจจุบันตั้งเเต่เราหยุดใช้น้ำบาดาล น้ำใต้ดินใน กทม. ก็ยกระดับสูงขึ้นมากจึงต้องการการควบคุมน้ำใต้ดินตลอดเวลา เเละต้องมีโครงสร้างกันดินทั้งชั่วคราวเเละถาวรที่เเข็งเเรง รวมถึงต้องทำการตรวจวัดการเคลื่อนตัว ฯลฯ เพื่อปรับมาตราการความปลอดภัยระหว่างก่อสร้าง

ความอันตรายที่สุดคือ ช่วงที่ขุดถึงระดับลึกสุด ที่เเรงดันดินเเละเเรงดันน้ำมหาศาลสามารถจะทะลุก้นบ่อขุดขึ้นมาเเล้วทำลายทุกสิ่งอย่างจนค้ำยันต่าง ๆ พังลงเเล้วทำให้บ่อขุดยุบพัง ส่งผลให้บ้านข้างเคียงได้รับผลกระทบ ในสภาวะการก่อสร้างปกติ ความอันตรายดังกล่าวได้ถูกควบคุมด้วยวิศวกร ทำให้ปลอดภัย โดยการสูบน้ำใต้ดินหรือการรีบเทคอนกรีตพื้นล่างสุดเมื่อขุดถึงระดับลึกสุด (base slab) เเละเราก็ไม่เคยได้ยินข่าวที่รุนเเรงดังกล่าวใน กทม. มากนัก เเต่ในสถานะการณ์ที่งานขุดกำลังลงไปในระดับลึกเเละอันตราย เเต่ไซต์งานต้องถูกปิดอย่างกะทันหัน ทำให้ไม่มีใครที่จะทำการป้องกันอันตรายดังกล่าว โดยเฉพาอย่างยิ่งไซต์งานที่กำลังขุดในระดับลึกสุดเเละยังไม่ได้เท base slab ประเด็นนี้อันตรายอยากขอเสนอให้ ศบค. ออกประกาศเพิ่มเติมเกี่ยวกับการหยุดไซต์งานให้มีข้อยกเว้นด้านเวลาสำหรับไซต์ที่ต้องการเวลาในการจัดการด้านความปลอดภัยต่างๆ จริงๆ ไม่ใช่เเค่งานขุดที่ผมว่า เเต่เรื่องอื่นเช่น อัคคีภัย สารเคมี ฯลฯ โดยน่าจะมีช่วงเวลาหรือให้ทางไซต์ทำเเผนด้านความปลอดภัยสาธารณะเผื่อให้เวลาเพิ่มเติมเพื่อจัดการเรื่องความปลอดภัยดังกล่าว ก่อนจะปิดยาวๆ เพราะถ้าปล่อยให้เกิดเหตุขึ้น ใครจะรับผิดชอบ ถ้าไม่ใช่ผู้ประกอบการเอง”

จากที่หลายฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็นถึงผลกระทบของการประกาศล็อกดาวน์ แน่นอนว่าสั่นสะเทือนวงการก่อสร้างอย่างที่สุด โควิด-19 ระลอกที่ 3 นี้ อัตราการติดเชื่อสูงขึ้นมาก และเคสรุนแรงก็มากขึ้น เนื่องจากมีเชื้อไวรัสหลายสายพันธ์เข้ามา และการฉีดวัคซีนยังไม่ทั่วถึง วัคซีนทางเลือกยังไม่ถูกนำเข้ามา ทำให้กระทบอย่างหนักกับวงการก่อสร้างและอสังหาของไทย กับการประกาศล็อกดาวน์กรุงเทพ-ปริมณฑล 4 จังหวัดภาคใต้ครั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสถานการณ์จะกลับมาปกติโดยเร็ว และทุกท่านสามารถผ่านพ้นวิกฤษครั้งนี้ไปได้ด้วยดี ขอให้ทุกท่านสุขภาพแข็งแรง

Ref. https://www.buildernews.in.th  , https://www.pptvhd36.com/news