Little Island สวนลอยน้ำ สุดล้ำจากนิวยอร์ก ปังอย่าบอกใคร!

ช่วงโควิด-19 การเดินทางไปท่องเที่ยวเปิดหูเปิดตาในต่างประเทศ เป็นไปได้ยาก หลายท่านที่กำลังคิดถึงการเดินทาง ทัศนียภาพ ภูมิอากาศความแปลกใหม่สวยงามของงานสถาปัตกรรมในต่างแดน วันนี้แอดมินขอนำบรรยากาศของ มหานครนิวยอร์ก เมืองที่ไม่เคยหลับไหล พาชมงานสถาปัตยกรรมใหม่ที่น่าสนใจ เยียวยาจิตใจในช่วงนี้มาฝากกันให้หายคิดถึง กับ Little Island สวนสาธารณะลอยน้ำที่เปิดใหม่ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา พื้นที่เกือบหมื่นตารางเมตรตั้งลดหลั่นคล้ายเกลียวคลื่น ประกอบด้วยพันธุ์ไม้มากกว่า 370 สายพันธุ์ ไม้ใหญ่ 114 ต้น และไม้พุ่มนับร้อยประดับตกแต่งเพื่อสร้างความเขียวชอุ่มตลอดปี มีลานกิจกรรมทางศิลปะไว้ให้ศิลปินทุกแขนงแสดงออก ร่วมถึงใช้หลอดไฟมากกว่า 66,000 หลอดให้แสงสว่างยามค่ำคืน Barry Diller นักธุรกิจชาวอเมริกัน หนึ่งในผู้ผลักดันโปรเจกต์กล่าวว่า “ผมหวังว่า Little Island จะทำหน้าที่เป็นโอเอซิสสำหรับทุกคนที่มาเยี่ยมชม รู้สึกมีความสุขกับภูมิทัศน์สวยๆ ยามเดินไปโดยรอบ” เป็นสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจอย่างไรบ้างมาติดตามกันค่ะ

พื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ขนาด 11,000 ตารางเมตร ใจกลางนิวยอร์ก สวนสาธารณะลอยน้ำย่านแมนฮัตตันฝั่งตะวันตก เป็นท่าเรือร้าง Pier 54 ด้วยวิวเมืองและท่าเรือ สวนที่มีพันธุ์ไม้ 370 กว่าสายพันธุ์ และสร้างลานกิจกรรมทางศิลปะทุกแขนง เพื่อส่งเสริมความสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นจริง ด้วยงบประมาณ 130 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3,900 ล้านบาท การสร้างสวนสาธารณะบนน้ำอย่างไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมเดิม รวมถึงสร้างระบบนิเวศใหม่อย่างครบวงจรทั้งคน พืช และสัตว์ เป็นจริงได้ แถมเรื่องราวของเกาะนี้ที่มีส่วนพัวพันกับแจ็กและโรสในเรื่อง ไททานิก ด้วย ฉะนั้น ก่อนเข้าไปเดินชมความงาม ต้องตามไปดูการเปลี่ยนท่าเรือเก่า ว่ามีอะไรเกิดขึ้นที่ท่าเรือสุดอาถรรพ์ สู่การออกแบบและพัฒนาเป็นพื้นที่สร้างสรรค์

เรือลูซิเทเนียมาถึง ณ ท่าเรือ 54 ในเมืองนิวยอร์ก ค.ศ. 1908
ภาพ : จอร์จ แกรนธาม เบน (George Grantham Bain)

สาวกไททานิก ต้องมีภาพจำเป็นฉากที่แจ็กกอดโรสในท่ากางแขนอยู่บนหัวเรือไททานิกก่อนที่เรือจะจมลงอีกไม่กี่อึดใจ เรื่องราวส่วนหนึ่งของหนังผูกโยงเรื่องจริงที่เกี่ยวข้องกับท่าเรือ Pier 54 บนแม่น้ำฮัดสันนี้เอาไว้ และที่นี่มีเหตุให้ประสบภัยพิบัติหลายครั้ง ย้อนกลับไปช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 พื้นที่ทิศเหนือของ Gansevoort Peninsula ครั้งหนึ่งเคยถูกขนานนามว่า ‘Luxury Liner Row’ ท่าเรือโดยรอบ Pier 54 สร้างขึ้นสำหรับเทียบท่าของ 2 สายการเดินเรือ อย่าง ไวต์สตาร์ไลน์ (White Star Line) เจ้าของค่ายเรือไททานิกสุดโด่งดัง ซึ่งอับปางหลังเดินทางข้ามหาสมุทรแอตแลนติกครั้งแรก ชนภูเขาน้ำแข็ง เมื่อ ค.ศ. 1912  โดยมีผู้เสียชีวิตกว่า 1,500 คน ส่วนอีกหนึ่งคือสายการเดินเรือคูนาร์ด (Cunard Line) คู่แข่งคนสำคัญของไวต์สตาร์ไลน์ เรืออาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย (RMS Carpathia) ช่วยเหลือผู้รอดชีวิตจากไททานิกกลับมาส่งยังท่าเรือ Pier 54 ได้สำเร็จ ส่วนภัยพิบัติครั้งสุดท้ายที่ท่าเรือนี้คือพายุเฮอริเคนแซนดี้เมื่อ ค.ศ. 2012 เวลาผ่านไป ท่าเรือ 54 ก็ถึงวันเกษียณอายุ เหลือไว้แต่เพียงซากโครงเสาเหล็กตรงทางเข้า ร่องรอยการเป็นท่าจอดเรือดัง

เปลี่ยนท่าเก่าให้กลายเป็นเกาะ  เดิมทีรอบแม่น้ำฮัดสัน เปิดให้ผู้คนใช้งานเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ทานอาหาร เดินเล่น สร้างกิจกรรมการเรียนรู้ ใน ค.ศ. 2014 Hudson River Park Trust ผู้จัดการดูแลพื้นที่ ร่วมมือกับมูลนิธิ Diller von Furstenberg Family Foundation (DVFFF) คิดสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะ โดยให้ โทมัส เฮเธอร์วิก (Thomas Heatherwick) สถาปนิกชื่อดังชาวอังกฤษ ผู้ออกแบบ Heatherwick Studio และ แมทธิว เนลเซ่น (Mathews Nielsen) ภูมิสถาปนิกแห่ง MNLA มาดีไซน์ชีวิตใหม่ให้ท่าเรือเก่า เฮเธอร์วิกค้นพบว่า เศษไม้กว่าร้อยต้นขนาบข้างท่าเรือ 54 ที่ทิ้งเสี้ยวความทรงจำไว้ เป็นไอเดียตั้งต้นทำสวนสาธารณะแห่งนี้ได้ และอีกเหตุผลที่ไม่ทิ้งซากไม้ เพราะต้องการให้เป็นที่อยู่ของสัตว์น้ำเช่นเดิม เขาออกแบบสวนด้วยคอนเซปต์พืชเหนือน้ำ เป็นที่มาของโครงสร้างฐานรูปก้านดอกทิวลิป 132 ต้น แบ่งบานด้านบนผิวน้ำเพื่อโอบรับสวนนี้ไว้ และลดหลั่นตามความสูงเพื่อต้านแรงลม รวมถึงใช้แบ่งโซนที่มีทั้งโรงละคร 700 ที่นั่ง พื้นที่การแสดงที่จุได้ 3,500 คน และมีทางเดินรอบสวนไว้ดูวิวต่างองศาได้

การออกแบบภูมิทัศน์รอบๆ ภูมิสถาปนิกผู้สร้างความสุขทางตาจากไม้พื้นถิ่นต่างสายพันธุ์นับร้อย ต้นไม้ถึง 35 ชนิด พุ่มไม้อีก 65 ชนิด รวมถึงหญ้า พืชยืนต้น และอื่นๆ อีก 270 ชนิดที่เหมาะกับสภาพอากาศทุกฤดูของนิวยอร์ก และยังดึงดูดนกกับแมลงมาช่วยขยายพันธุ์ นิวยอร์กซิตี้ให้ความสำคัญกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงการยกศิลปินและศิลปะมาพัฒนาคนในเมืองด้วย Public Space อย่างแท้จริง ปัจจุบันการให้ความสำคัญกับธรรมชาติ เป็นเทรนด์ที่มาแรง และอยู่อย่างยั่งยืน การสร้างสถาปัตยกรรมโดยให้สอดรับกับธรรมชาติโดยรอบ ให้เอื้อต่อวิถีชีวิตของผู้ชนโดยรอบ พร้อมไปกับการสร้างการเรียนรู้พัฒนา และเยี่ยวยาจิตใจในช่วงที่เกิดโรคระบาด โควิด-19 กลายเป็นสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่า และอยู่ในชีวิตของผู้คน

Data&Photo : www.atlasobscura.com, www.hudsonriverpark.org, www.littleisland.org, www.heatherwick.com, www.aasarchitecture.com, www.surfacesreporter.com , https://readthecloud.co, https://www.designboom.com/architecture, www.buildernews.in.th, https://readthecloud.co , Michael Grimm