Fire Protection system งานระบบป้องกันอัคคีภัย มีหลักเกณฑ์ในการออกแบบ และเลือกใช้วัสดุอย่างไร

ระบบป้องกันอัคคีภัยภายในอาคารถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ออกแบบ และเจ้าของอาคารควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรกๆ เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ การส่งสัญญาณเตือนภัย และการทำงานของระบบควบคุมเพลิงภายในอาคาร ล้วนมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยหยุดเหตุการณ์เพลิงใหม้ให้สงบลงได้ ในกรณีเพลิงไหม้ในระดับความรุนแรงเล็กน้อย-ปานกลาง หรือ ทุเลาความรุนแรง ในกรณีเพลิงไหม้ระดับรุนแรงสูงสุด เพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้กับผู้อยู่อาศัยได้ ฉะนั้นระบบป้องกันอัคคีภัยมีหลักเกณฑ์ในการออกแบบ และการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับอาคารของท่านอย่างไรบ้าง

หลักเกณฑ์การพิจารณาพื้นที่สำหรับการออกแบบระบบดับเพลิง และป้องกันอัคคีภัยภายในอาคาร

สำหรับในประเทศไทยการคำนวณออกแบบติดตั้งระบบดับเพลิง และป้องกันอัคคีภัยภายในอาคาร ตามมาตรฐานระบบดับเพลิงของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ต้องพิจารณาจากลักษณะ และรูปแบบฟังก์ชั่นการใช้สอยอาคารที่ปลูกสร้างตามกฏหมาย โดยแบ่งเกณฑ์สำหรับการพิจารณาประเภทพื้นที่ที่มีอันตรายน้อยไปยังอันตรายมาก เพื่อพิจารณาความเสี่ยงในการเกิดอัคคีภัย ซึ่งจะช่วยให้การออกแบบและคํานวณมีความปลอดภัยต่อการใช้งานออกได้ 3 ประเภทหลักๆดังนี้

– พื้นที่อันตรายน้อย (Light hazard occupancies)

ได้แก่ที่พักอาศัย ,สํานักงานท่ัวไป ,ภัตตาคาร(ส่วนรับประทานอาหาร) โ,รงภาพยนตร์ และศูนย์การประชุม (ไม่รวมเวที และเวทีหลังม่าน), โบสถ์, วัด และวิหาร, สถานศึกษา, สถาบันต่างๆ, โรงพยาบาล, สถานพยาบาลและพักฟื้น, ห้องสมุด (ยกเว้นห้องสมุดท่ีมีชั้นวางหนังสือขนาดใหญ่) และพิพิธภัณฑ์

– พื้นที่อันตรายปานกลาง (Ordinary hazard occupancies) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 ได้แก่ ที่จอดรถยนต์ และห้องแสดงรถยนต์, โรงงานผลิตอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์, โรงงานผลิตเครื่องดื่ม, ร้านทําขนมปัง, ร้านซักผ้า, โรงงานผลิตอาหารกระป๋อง, โรงงานผลิตแก้วและวัสดุท่ีทําจากแก้ว, ภัตตาคาร (ส่วนบริการ) และโรงงานผลิตเครื่องบริโภคประจําวัน

กลุ่มที่ 2 ได้แก่ โรงงานผลิตสินค้าที่ทําจากหนังสัตว์, โรงงานผลิตลูกกวาด, โรงงานผลิตสิ่งทอ, โรงงานยาสูบ, โรงงานประกอบผลิตภัณฑ์ไม้, โรงพิมพ์และสิ่งพิมพ์โฆษณา, โรงงานที่ใช้สารเคมี, โรงสีข้าว, โรงกลึง, โรงงานประกอบผลิตภัณฑ์โลหะ, โรงต้มกลั่น, อู่ซ่อมรถยนต์, โรงงานผลิตยางรถยนต์, โรงงานแปรรูปไม้ด้วยเครื่อง, โรงงานกระดาษและผลิตเยื่อกระดาษ, โรงงานผลิตภัณฑ์กระดาษ, ร้านค้า, ท่าเรือ, โรงงานผลิตอาหารสัตว์, เวทีแสดง, ที่ทําการไปรษณีย์, ห้องสมุด (มีชั้นเก็บหนังสือขนาดใหญ่) และร้านซักแห้ง

พื้นที่อันตรายมาก (Extra hazard occupancies) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 พื้นที่กลุ่มนี้จะมีลักษณะการใช้งานท่ีเกี่ยวข้องกับ ของเหลวติดไฟ (Combustible liquid) หรือของเหลวไวไฟ (Flammable liquid) ในปริมาณไม่มาก ได้แก่ โรงเก็บและซ่อมเครื่องบิน, โรงงานผลิตไม้อัดและไม้แผ่น, โรงพิมพ์ (ใช้หมึกพิมพ์ที่มีจุดวาบไฟตํ่ากว่า 37.9 °C), อุตสาหกรรมยาง, โรงเลื่อย, โรงงานสิ่งทอรวมท้ังโรงฟอก ย้อม ปั่นฝ้าย เส้นใย สังเคราะห์ และฟอกขนสัตว์ และโรงทําเฟอร์นิเจอร์ด้วยโฟม

กลุ่มที่ 2 พื้นที่กลุ่มนี้จะมีลักษณะการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับของเหลวติดไฟ (Combustible liquid) หรือของเหลวไวไฟ (Flammable liquid) ปริมาณมากๆ ได้แก่ โรงงานผลิตยางมะตอย, โรงพ่นสี, โรงกลั่นน้ํามัน, โรงงานผลิตนํ้ามันเครื่อง, โรงชุบโลหะที่ใช้นํ้ามัน, อุตสาหกรรมพลาสติก, พื้นที่ล้างโลหะด้วยสารละลาย หรือ การเคลือบสีด้วยการจุ่ม

ระบบดับเพลิง และป้องกันอัคคีภัยภายในอาคารที่นิยมใช้งานในปัจจุบันมีกี่แบบ และมีหลักเกณฑ์การเลือกใช้วัสดุอย่างไร ประกอบด้วย

ระบบท่อยืน และตู้หัวฉีดดับเพลิง

แบ่งออกได้ 2 รูปแบบ คือ ระบบท่อเปียกโดยอัตโนมัติ (Automatic wet) และระบบท่อเปียกควบคุมด้วยมือ (Manual wet)

โดยมีหลักเกณฑ์การเลือกใช้วัสดุท่อนํ้าในระบบท่อยืน และตู้หัวฉีดดับเพลิง จะต้องเป็นท่อเหล็กผิวเรียบ ทาสีแดง (ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 33) ซึ่งจะต้องเป็นท่อที่ได้มาตรฐาน ASTM, JIS และ BS เท่านั้น

ระบบหัวกระจายนํ้าดับเพลิง

แบ่งออกได้ 2 รูปแบบ คือ ระบบท่อเปียก (Wet pipe system) ซึ่งเป็นระบบที่นิยมใช้มากในอาคารทั่วไป และระบบท่อแห้ง (Dry pipe system)

โดยมีหลักเกณฑ์การเลือกใช้วัสดุท่อนํ้าในระบบหัวกระจายนํ้าดับเพลิง (ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 33) จะต้องเป็นท่อที่ได้มาตรฐาน ASTM, JIS และ BS เท่านั้น

Data : www.wazzadu.com

Cover Photo : www.taikisha.co.th