เพลิงไหม้ในอาคาร คลังสินค้า โรงงาน เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้บ่อย เพลิงไหม้ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย ในโรงงาน และ คลังสินค้า จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ
อุบัติเหตุในโรงงาน เกิดขึ้นได้เสมอ การติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเหตุและระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย จึงเป็นระบบที่สำคัญ ผู้ประกอบการควรติดตั้ง ระบบจะช่วยส่งสัญญาณเตือนก่อนที่เพลิงจะเกิดการลุกลามอย่างรุนแรง จนไม่สามารถควบคุมได้ และระบบดับเพลิงอาจจะช่วยดับไฟได้ตั้งแต่เริ่มเกิดเหตุการณ์รวมถึงช่วยให้คุณมีเวลาพอที่จะอพยพออกจากอาคารได้อย่างปลอดภัย ซึ่งจะลดความเสียหายที่เกิดขึ้นได้สูง
ปัจจัยเสี่ยง ต่อการเกิดอัคคีภัย
โกดัง หรือ คลังสินค้า เป็นแหล่งเก็บสินค้ามากมายของธุรกิจ การคำนึงและศึกษาจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุได้ ทำให้สินค้าปลอดภัยและไม่เกิดความเสียหาย โดยผู้ออกแบบระบบอัคคีภัย ต้องวางแผนศึกษาปัจจัยต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้น
- สถานที่ตั้ง
- การก่อสร้างอาคาร
- ปัจจัยด้านการจัดการ
- ปัจจัยด้านพนักงาน
- ระบบป้องกันอัคคีภัย
- ระบบการฟื้นฟูสภาพโกดังหลังเหตุไฟไหม้
- ไฟฟ้าลัดวงจร
- อุบัติเหตุจากการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้า
ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย ตามกฎหมาย
สำหรับระบบป้องกันอัคคีภัยตามกฏหมายบังคับของกระทรวงนั้น มีข้อบังคับดังนี้
- การจัดอุปกรณ์ดับเพลิงด้วยสัญลักษณ์ที่เป็นสากล
- การจัดการของเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุอัคคีภัยได้ง่าย
- การติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
- แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย การตรวจตรา การอบรม การอพยพ การดับเพลิง และการฟี้นฟู
- แผนผังทางหนีไฟ
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม: ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย | คู่มือการปฏิบัติงาน การป้องกันและระงับอัคคีภัยโรงงาน 2552 (เป็นลิงค์ภายนอก กรณีไม่พบข้อมูล อาจมีสาเหตุมาจากมีการปรับปรุงเว็บไซต์)
โครงการ ก่อสร้างคลังสินค้า (โครงการ B ขนาด 5,000 ตร.ม.) บริษัท แคลคอมพ์ เพชรบุรี พร้อมวางแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย ในโรงงาน
แผนผังทางหนีไฟ
การออกแบบแผนผังทางหนีไฟ จำเป็นต้องมีบันไดหนีไฟและเส้นทางหนีไฟ เนื่องจากต้องอพยพคนออกจากพื้นที่ในขณะที่เกิดอัคคีภัย
1. บันไดหนีไฟ
- ก. บันไดหนีไฟ จะต้องมีไม่น้อยกว่า 2 ชุด ภายในแต่ละชั้นของอาคาร โดยบันไดหนีไฟจะต้องมีระยะห่างกันไม่เกิน 60 เมตร
- ข. ประตูและผนังที่ปิดล้อมบันไดหนีไฟจะต้องสามารถทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
- ค. ภายในบันไดหนีไฟจะต้องมีการติดตั้งไฟส่องสว่างฉุกเฉิน เพื่อให้ส่องสว่างชั้นบันไดทำให้อพยพคนได้อย่างรวดเร็ว
- ง. ต้องจัดให้มีป้ายแสดงรายละเอียดในการหนีไฟภายในบันไดหนีไฟทุกชั้นทุกบันไดหนีไฟ โดยรายละเอียดในป้ายนั้นจะต้องระบุชื่อชั้น ชื่อบันได และชื่อชั้นที่เป็นทางออกของบันไดหนีไฟ
- จ. ราวจับภายในบันไดหนีไฟควรจะต้องมีทั้ง 2 ด้าน และราวจับควรมีรูปร่างและขนาดที่มือสามารถยึดจับได้พอเหมาะ
- ฉ. ภายในช่องบันไดหนีไฟจะต้องไม่มีการวางหรือเก็บของ ซึ่งทำให้การอพยพคนล่าช้าหรือได้รับอันตรายระหว่างการใช้บันไดหนีไฟ
2. เส้นทางหนีไฟ
เส้นทางการหนีไฟจะต้องมีระยะเส้นทางที่วัดตามแนวการเดิน โดยมีระยะห่างของวัตถุหรือสิ่งกีดขวางอย่างน้อย 300 มิลลิเมตร
ภาพแสดงระยะทางหนีไฟตามแนวทางเดิน
ภาพแสดง ตารางระยะจำกัดของเส้นทางการหนีไฟของโกดัง
การแบ่งพื้นที่โรงงาน หรือ คลังสินค้าตามแผนป้องกันอัคคีภัย
- ประเภทอันตรายต่ำ คือ สินค้าที่จัดเก็บไม่ติดไฟ หรือเมื่อมีเพลิงไหม้เกิดขึ้นไฟจะไม่ลุกลามอย่างรวดเร็ว
- ประเภทอันตรายปานกลาง คือ สินค้าที่จัดเก็บติดไฟได้แต่เมื่อติดไฟแล้วจะมีการลุกลามในระดับปานกลาง
- ประเภทอันตรายสูง คือ สินค้าที่จัดเก็บมีความสามารถในการติดไฟและระเบิดได้ เมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้วจะทำให้ไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว
ข้อสังเกตุทางหนีไฟที่ถูกต้อง
- บันไดหนีไฟทุกตัวจะต้องมีอัตราการทนไฟของประตูไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง โดยการใช้ประตูเหล็ก
- อุปกรณ์ประตู จะต้องเป็นแบบผลัก
- ราวบันไดก็ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
- ป้ายบอกทางหนีไฟ มีป้ายบอกชั้น มีระบบอัดอากาศ กรณีเป็นบันไดหนีไฟที่อยู่ภายในตัวอาคาร
การป้องกันอัคคีภัยอย่างดีตั้งแต่เริ่มต้นนั้น เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้นจะสามารถช่วยป้องกันไม่ให้ไฟและควันไฟลุกลามออกไปยังพื้นที่หรือห้องใกล้เคียง สามารถลดความเสียหายจากเหตุการณ์เพลิงไหม้ได้อย่างดีเลยทีเดียว
Key Takeaways
แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย ตามกฎหมายนั้น ได้บังคับให้ทำตามกฎเพื่อความปลอดภัยของธุรกิจดังนี้
- ต้องมีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย โดยมีการจัดอุปกรณ์ดับเพลิง การกำจัดของเสียที่ติดไฟง่าย การติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ รวมทั้งการก่อสร้างอาคารที่มีระบบป้องกันอัคคีภัย
- มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย โดยการตรวจตรา การอบรม การอพยพ การดับเพลิง และการฟี้นฟู
- รวมถึงความปลอดภัยเกี่ยวกับอาคารและทางหนีไฟ
อ้างอิงจาก : dpm.nida.ac.th , warehousesthailand.com