E-commerce Warehouse ก้าวเป็นผู้นำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ต้องมีคลังสินค้า โกดัง แบบไหน
ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เติบโตเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โลกออนไลน์มีผลต่อการใช้ชีวิตในปัจจุบันเป็นอย่างมาก การทำธุรกิจก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภค จึงมีร้านค้าที่ก้าวเข้าสู่โลก E-Commerce (อีคอมเมิร์ซ) กันมากขึ้น การขายสินค้าและแข่งขันกับคู่แข่งที่มีจำนวนมาก ต้องมีความพร้อมในหลายๆด้าน และเมื่อพูดถึงธุรกิจอีคอมเมิร์ซ การขายของออนไลน์ คงไม่มีใครไม่รู้จัก Shopee กลายเป็นผู้นำตลาดครองส่วนแบ่งตลาดถึง 54% ลงทุนสร้างคลังสินค้าขนาดใหญ่กว่า 30,000 ตร.ม. และทำให้การเติบโตเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยระบบ ecosystem ที่ครบวงจร การสร้างคลังสินค้าถือว่าเป็นแต้มต่อในธุรกิจ E-Commerce (อีคอมเมิร์ซ) ก็ว่าได้ หากคุณจะต่อยอดธุรกิจ การมีพื้นที่เก็บสินค้า และสามารถจัดส่งได้อย่างรวดเร็ว ถือเป็นช่องทางที่น่าสนใจ แล้วควรมีคลังสินค้า โกดัง แบบไหนถึงจะตอบโจทย์ E-commerce Warehouse ก้าวเป็นผู้นำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ต้องมีคลังสินค้า โกดัง แบบไหน
E-Commerce คือช่องทางการขาย การเก็บเงิน การส่งสินค้า แต่การที่จะทำให้คนรู้จักหรือไปดึงคนเข้ามาซื้อสินค้าเรามันคือ E-Marketing และอีกคำหนึ่งที่ใหญ่กว่านั้นคือ E-Business คือการทำธุรกิจดิจิทัลทั้งหมด จะเห็นได้ว่าการทำธุรกิจ E-Commerce นั้นมีประโยชน์หลายๆ ด้าน โดยมีสิ่งสำคัญอยู่ที่เว็บไซต์ขายสินค้าที่สามารถอำนวยความสะดวกทั้งแก่เจ้าของธุรกิจและลูกค้า หลายคนอาจจะสงสัยว่าสามารถใช้โซเชียลมีเดียที่เปิดให้ใช้งานได้ฟรีอย่าง Facebook หรือ Instagram ขายสินค้าแทนเว็บไซต์ได้หรือไม่ บางธุรกิจหรือผู้ที่ยังไม่มีทุนทรัพย์ไม่พร้อม สามารถเริ่มต้นจากการใช้โซเชียลมีเดียก็ได้ แต่เนื่องจากการใช้บริการโซเชียลมีเดีย ก็มีข้อจำกัดในหลายๆ ด้าน การมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองย่อมดีกว่าอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ปัจจัยที่จะทำให้ E-Commerce ประสบความสำเร็จ สำคัญมากก็คือสินค้าและบริการที่คุณขาย ถ้าคุณขายของทั่วไปที่หาซื้อได้ง่ายๆ ตามท้องตลาด สิ่งที่คุณต้องทำงานหนักคือเรื่องมาร์เก็ตติ้ง เพื่อที่จะพยายามเข้าถึงคนให้ได้มากที่สุด แต่ถ้าสินค้าและบริการของคุณมีความแตกต่าง มาร์เก็ตติ้งคุณจะเบาลง ไม่ต้องโปรโมตเยอะก็ได้ ความแตกต่างจะทำให้คุณได้เปรียบ มาร์เก็ตติ้งสำคัญตัวเลขที่เป็นค่ากลางของตลาดคือ 5-10% ของยอดขาย แต่ก็ไม่ได้ตายตัว ขึ้นอยู่กับ Margin ด้วย ต้องดูว่าคุณมี Margin เยอะเพียงพอ จากนั้นอาจจะค่อยปันมาบางส่วนเพื่อทำเป็นงบการตลาด พอมีสินค้าและบริการแล้วเราก็ต้องเตรียมช่องทางการขาย ซึ่งปัจจุบันมีช่องทางออนไลน์เยอะมาก โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่องทางหลัก
1. Social Commerce หรือโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram
2. Marketplace เช่น Lazada, Shopee, JD
3. Owned Channel คือช่องทางของเราเอง เช่น เว็บไซต์
SMEs คือการเริ่มต้นจากการขายของบนโซเชียลมีเดียก่อน เพราะการเปิดร้านค้าบน Facebook บน Instagram มันไม่มีต้นทุน ทีนี้พอเปิดร้านค้าบนโซเชียลมีเดียแล้ว ใส่สินค้าเข้าไปแล้ว คำถามต่อมาคือจะดึงคนมาซื้อได้อย่างไร วิธีการแรกที่ง่ายที่สุดโดยไม่จำเป็นต้องเสียเงินบูสต์โพสต์เลยก็คือ Live Commerce หรือการไลฟ์ขายของ
ภาพประกอบ :freepik
คลังสินค้ามาตรฐาน แต้มต่อทางธุรกิจ
- คลังสินค้าในทำเลสำคัญ คุณภาพดี มีขนาดและคุณสมบัติที่สามารถตอบสนองความต้องการในการใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ส่งเสริมการขยายธุรกิจ การเลือกทำเล การเลือกทำเลที่ตั้งของโกดัง ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่จะคำนึงถึงถึงความเหมาะสมเพื่อประโยชน์ของธุรกิจ อันจะก่อให้เกิดยอดขาย และกำไร โดยมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำ ดังนั้น ผู้ผลิตหรือออกแบบโกดังควรยึดหลักสำคัญในการกลยุทธ์การเลือกทำเลที่ตั้ง 3 อย่าง คือ
- การเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าใกล้แหล่งผลิตและตลาด โดยจะต้องให้สอดคล้องกัน ซึ่งหากทำได้จะเป็นวิธีการในการลดต้นทุนได้ทั้งต้นทุนการขนส่ง ต้นทุนในการบริการลูกค้า
- การเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าใกล้ตลาด ทำเลใกล้ตลาดอาจะเป็นผลดีต่อการให้บริการ แต่ทั้งนี้เนื่องจากการตั้งคลังสินค้าใกล้ตลาดจะต้องใช้ต้นทุนคงที่ด้านที่ดิน อาคารและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ที่อาจมีต้นทุนสูงมาก
- การเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าใกล้แหล่งผลิต คลังสินค้าวัตถุดิบจะมีความสำคัญมากในกระบวนการเริ่มต้นของการผลิตการเลือกทำเลที่ตั้งในลักษณะนี้จะต้องอยู่ใกล้กับแหล่งวัตถุดิบให้มากที่สุดทั้งนี้ เนื่องจากความต้องการวัตถุดิบมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
- พื้นของคลังสินค้า โกดัง ต้องมั่นคงแข็งแรง ทนทาน เรียบสม่ำเสมอ พื้นคอนกรีตมีการคำนวณการรับน้ำหนักต่อตารางเมตรเป็นไปตามการใช้งาน รับน้ำหนักได้มาก หากเป็นพื้นขัดเรียบลงเงา เพื่อเพิ่มความทนทานของพื้นผิวรวมทั้งให้พื้นผิวเงางาม ความเรียบสม่ำเสมอ และระดับความสูงของพื้นได้ถูกออกแบบตามมาตรฐานสากล มีการออกแบบรอยต่อเผื่อแตกและรอยต่อเผื่อการเคลื่อนตัว เพื่อลดปัญหาการหดตัวของพื้นคอนกรีต
- ส่วนของหลังคาเมทัลชีท ไม่มีรอยต่อสลักเกลียว ป้องกันน้ำฝนรั่วซึม และมีความต้านทานกระแสลมได้ดี ทนทานต่อการยืดตัวสูง หลังคาโปร่งแสง ให้แสงธรรมชาติจากภายนอกผ่านเข้ามาภายในได้ ในช่วงเวลากลางวัน ช่วยการประหยัดพลังงานไฟฟ้า และคลังสินค้ามีการป้องกันความร้อนด้วยฉนวนกันความร้อน ลดความร้อนภายใน และสามารถระบายน้ำได้ดีในช่วงฤดูฝน
- การระบายอากาศภายในอาคาร สามารถระบายอากาศภายในคลังสินค้าได้ดี สามารถระบายลมร้อน ช่วยให้อากาศภายในโกดังไม่อบอ้าว ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกสบายเหมาะแก่การทำงาน
- ความสูงของอาคาร ประมาณ 7-15 เมตร และ และความกว้างภายในคลังสินค้า โกดัง ต้องเหมาะสมสำหรับการติดตั้งระบบชั้นวางสินค้าและอุปกรณ์ต่างๆ สามารถปรับการใช้งานและเคลื่อนย้ายสินค้าได้อย่างสะดวก เหมาะสมกับการเคลื่อนย้ายสินค้า ได้ตลอดเวลา ทำให้การทำงานของผู้ใช้งานคลังสินค้าสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้นนั้นเอง ทำให้สามารถใช้งานคลังสินค้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
- ประตูขนถ่ายสินค้า และสะพานปรับระดับระบบไฮดรอลิค มีการติดตั้งประตูขนถ่ายสินค้ามาตรฐานสูงพร้อมด้วยสะพานปรับระดับระบบไฮดรอลิคเพื่อช่วยให้การเคลื่อนย้ายสินค้ามีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น นอกจากนี้คลังสินค้ายังมีช่องประตูขนถ่ายสินค้าที่มีการยกระดับพื้นสูงถึง 3เมตร และมีทางลาดเพื่ออำนวยความสะดวกในการนำของลงจากรถขนส่ง
- หลังคากันสาดเพื่อกันฝนสาดระหว่างการขนย้ายสินค้า
- ระบบแสงสว่างภายในและภายนอกคลังสินค้าโกดัง มีค่าความสว่างที่เหมาะสมกับการใช้งานทั้งกลางวันและกลางคืน
- ลานจอดรถมีช่องจอดยาว สำหรับจอดรถบรรทุก เพื่อความสะดวกให้การหมุนจอดรถบรรทุกขนาดใหญ่
- ระบบป้องกันและแจ้งเตือนอัคคีภัย ประตูหนีไฟ ที่ออกแบบตามมาตรฐานสากล
- เพิ่มความปลอดภัยด้วยกล้องวงจรปิด ที่สามารถตรวจเช็ค คลังสินค้าได้จากทุกที่
- ระบบสาธารณูปโภคที่ครบครัน ประปา ไฟฟ้า เพียงพอต่อการใช้งาน
- สะอาดสะดวก มีห้องน้ำ เพียงพอต่อจำนวนพนักงาน
- ถนนโครงการ ถนนที่สามารถรองรับรถบรรทุกขนาดใหญ่
- ระบบระบายน้ำ มีท่อระบายน้ำ ป้องกันปัญหาน้ำท่วมได้เป็นอย่างดี
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : คุยกับสถาปนิค – 10 เทคนิควางแผนสร้างคลังสินค้า บริหารใช้งานเต็มประสิทธิภาพ
ภาพประกอบ :https://positioningmag.com/
Shopee Warehouse 30,000 ตร.ม.สร้าง ‘แต้มต่อ’ ในสงคราม E-commerce
Shopee เข้ามาสู้ศึกอีคอมเมิร์ซไทยตั้งแต่ปี 2016 จนในปี 2019 ‘Shopee’ (ช้อปปี้) ได้กลายเป็นผู้นำตลาดครองส่วนแบ่งตลาดถึง 54% (อ้างอิงจากไพร์ซซ่า) หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนก็คือ ecosystem’ ที่สมบูรณ์ และในที่สุด Shopee ก็มี ‘คลังสินค้า’ (Shopee Warehouse) ที่เป็นเหมือนจิ๊กซอว์ตัวสุดท้ายที่จะมาเติมเต็มในด้านโลจิสติกส์ ที่จะทำให้ Shopee มี ecosystem ที่สมบูรณ์ ที่ผ่านมา Shopee พยายามพูดถึงการสร้างอี ecosystem ที่เอื้อต่อการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ ซึ่งแค่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนั้นไม่เพียงพอ แต่ ‘ระบบชำระเงิน’ (Payment) และ ‘การขนส่ง’ (Logistics) ต้องมีความพร้อม ซึ่ง Shopee เองก็มี AirPay ที่มาอุดช่องในด้านเพย์เมนต์ เหลือเพียงแต่เรื่อง ‘ขนส่ง’ ที่ยังต้องพึ่ง partner เพื่อจัดส่งสินค้า แต่ในที่สุด Shopee ได้สร้าง Shopee Warehouse คลังสินค้าแห่งแรกในไทย พร้อมกับมี Shopee Xpress บริการการจัดส่งสินค้า Shopee Warehouse เริ่มใช้งานช่วงปลายปี 2019 โดยพื้นที่ของคลังสินค้ามีขนาดกว่า 30,000 ตารางเมตร พร้อมใช้ระบบ Warehouse Management System (WMS) ที่ช่วยให้ ecosystem ในการรับบรรจุและการจัดส่งสินค้าได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ซึ่งปัจจุบันคลังสินค้าสามารถเตรียมจัดส่งสินค้าได้ภายใน 8 ชั่วโมงหลังจากมีคำสั่งซื้อ และกว่าครึ่งของสินค้าจะถูกจัดส่งโดย Shopee Xpress ส่งที่เหลือจะถูกจัดส่งโดย partnerรายอื่น ๆ ภายในคลังสินค้าได้มีการแบ่งพื้นที่เป็นโซนต่าง ๆ ทั้งโซนสินค้าแฟชั่น โซนสินค้าราคาแพง เป็นต้น สำหรับ 5 สินค้าที่ให้บริการในคลังสินค้ามากที่สุด ได้แก่
1.กลุ่มผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก (Mom & Kids)
2.สินค้าความงาม (Beauty)
3.ของตกแต่งบ้าน (Home & Living)
4.อาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverages)
5.สินค้าเพื่อสุขภาพ (Healthy & Wellness)
นับตั้งแต่ Shopee มีคลังสินค้า มันทำให้ ecosystem ยิ่งมีความแข็งแกร่งขึ้น โดยแบรนด์ธุรกิจและผู้ขายในทั่วทั้งภูมิภาคที่ได้ใช้บริการคลังสินค้าของ Shopee สามารถจำหน่ายสินค้าได้มากขึ้นและจัดส่งสินค้าได้เพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า เพราะ Shopee ช่วยให้ร้านค้าโฟกัสกับธุรกิจได้เต็มที่ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการจัดส่ง สำหรับผู้ซื้อก็สามารถติดตามสถานะสินค้าได้ และรับของได้รวดเร็วและแม่นยำ Shopee ยังลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพของคลังสินค้า โดยเฉพาะการรับมือกับช่วงแคมเปญ ‘ดับเบิลเดย์’ ที่จะมีคำสั่งซื้อมากกว่าช่วงเวลาปกติหลายเท่าตัว ซึ่งอย่างในช่วง COVID-19 ที่มียอดคำสั่งซื้อเพิ่มมากขึ้น คลังสินค้าเองสามารถจัดส่งสินค้าได้เพิ่มขึ้นถึง 15 เท่าในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งการเติบโตของร้านค้าและผู้ซื้อจะเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มจำนวนคลังสินค้าในภูมิภาคต่าง ๆ ปัจจุบัน Shopee มีให้บริการอยู่ทั้งหมด 7 ประเทศ ประกอบด้วย ไต้หวัน, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม,สิงคโปร์ และประเทศล่าสุดก็คือไทย ซึ่งเปิดมาได้ราวครึ่งปี มียอดผู้สมัครใช้งานกว่า 4 ล้านราย ถึงแม้อุตสาหกรรม shopping platform โดยลักษณะ E-Commerce จะเป็นการค้าขายที่กำลังเป็นเทรนด์แห่งอนาคตที่โดนใจคนรุ่นใหม่ และดูเหมือนว่าจะมาแทนที่ Modern Trade ในปัจจุบัน
การสร้างคลังสินค้าเพื่อขยายธุรกิจ E-Commerce อุตสาหกรรม shopping platform เติบโตอย่างรวดเร็ว ยิ่งเป็นสภานการณ์โรคระบาด โควิด-19 ทำให้การซื้อของของคนส่วนใหญ่ อยู่ในโลกออนไลน์ และเติบโตเข้าถึงผู้บริโภคในหลายกลุ่มอายุ ส่งเสริมเป็นการลงทุนที่ทำให้ธุรกิจเติบโอย่างรวดเร็ว การขายของออนไลน์ พ่อค้าแม่ค้าเป็นอาชีพที่เพิ่มสูงขึ้นในยุคนี้ และสำหรับผู้ประกอบการที่กำลังวางแผนขยายกิจการ การมีคลังสินค้าที่มีคุณภาพมาส่งเสริมธุรกิจถือเป็นการลงทุนที่น่าสนใจอย่างยิ่ง E-commerce Warehouse ก้าวเป็นผู้นำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ต้องมีคลังสินค้า โกดัง แบบไหน
[…] […]