Distribution Center สร้างศูนย์กระจายสินค้า ก้าวนำหน้าธุรกิจโลจิสติกส์
ต้นทุนในการขนส่ง ส่งผลโดยตรงต่อการแข่งขันในตลาดสินค้าประเภทเดียวกัน ศูนย์กระจายสินค้า จึงถูกตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยลดทอนค่าใช้จ่าย เพิ่มแต้มต่อในการแข่งขันในตลาด ส่งผลถึงต้นทุนของสินค้าโดยตรง ทำให้ศูนย์กระจายสินค้ามีความสำคัญ โรงงานที่ผลิตสินค้าออกมาจำนวนมาก นอกจาการเก็บเข้าคลังสินค้า การส่งสินค้าไปศูนย์การะจายสินค้าเป็นการลดค้าใช้จ่ายในการกระจายสินค้าได้ ในแต่ละพื้นที่ทางเศรษฐกิจจึงมี ศูนย์กระจายสินค้ากระจายอยู่ทั่วประเทศ ปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจนั้น ไม่ได้มีเพียงแค่ความประทับใจในตัวสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงการให้บริการ ราคา บรรจุภัณฑ์และความรวดเร็วในการจัดส่งอีกด้วย ซึ่งศูนย์กระจายสินค้า และโลจิสติกส์ที่ดีมีส่วนช่วยเป็นอย่างมาก ส่วนจะสร้างศูนย์กระจายสินค้าต้องคำนึงถึงเรื่องใดบ้าง รวมไปถึงเจาะลึกเรื่องโลจิสติกส์ เราจะพาธุรกิจของคุณก้าวนำหน้าคู่แข่ง Distribution Center สร้างศูนย์กระจายสินค้า ก้าวนำหน้าธุรกิจโลจิสติกส์
ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center : DC) คืออะไร ศูนย์กระจายสินค้า ก็คือ คลังสินค้าที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อจะอำนวยความสะดวกในการจัดเก็บสินค้าจากหลายๆ โรงงานมารวมกัน แล้วทำหน้าที่หมุนเวียนสินค้าเข้า-ออก ทำหน้าเหมือนเป็นตัวแทน โดยเป็นที่รวมสินค้า รับคำสั่งซื้อ จัดหา และนำส่งแก่ลูกค้า โดยที่ไม่ใช่ตัวแทนของโรงงานแห่งใดแห่งหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เป็นศูนย์กลางของสินค้ากลุ่มประเภทเดียวกันของหลายๆ ที่มารวมกัน เพื่อสร้างความสะดวกให้แก่ทั้งผู้ผลิตและลูกค้ากลุ่มย่อม ถ้าโรงงานแต่ละโรงงานจะต้องส่งสินค้าไปยังกลุ่มร้านค้าหรือผู้ค้าส่งหรือผู้ค้าปลีกทั่วประเทศด้วยตัวเองทุกครั้ง ต้นทุนในการขนส่งแต่ละครั้งคงไม่คุ้มค่า และหากจะนำมาเป็นต้นทุนสินค้าก็จะทำให้สินค้าราคาสูงเป็นภาระแก่ผู้บริโภค และส่งผลให้ไม่สามารถแข่งขันในตลาดสินค้าประเภทเดียวกันได้ ศูนย์กระจายสินค้า จึงถูกตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยลดทอนค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ แต่สามารถบริการได้ตามวัตถุประสงค์เดิมและใช้เวลาน้อย การค้าของผู้ค้าส่งหรือค้าปลีกไม่สะดุด ศูนย์กระจายสินค้าคืออะไร มาทำความรู้จักกันให้มากขึ้น
ข้อแตกต่างระหว่างคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า
หากไม่ได้เกี่ยวข้องในวงการจริงๆ อาจเข้าใจผิดว่า คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้าเป็นที่เดียวกัน แต่ความจริงนั้นแตกต่างอย่างสิ้นเชิง คลังสินค้าจะรวมสินค้าทุกชนิด และปริมาณมาก แต่ศูนย์กระจายสินค้า เน้นสินค้าหลายหลาก ปริมาณเพียงพอที่จะส่งตามคำสั่งซื้อ และเข้าเร็ว-ออกเร็ว ไม่เก็บนาน
- คลังสินค้าสำหรับเก็บรักษาสินค้า (Warehouse) คลังสินค้าชนิดนี้มีหน้าที่หลักในการเก็บรักษาสินค้าซึ่งอาจจะอยู่ในรูป วัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จรูป เพื่อทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการของฝ่ายผลิต หรือร้านค้าตามลำดับ ดังนั้นการจัดการสินค้าประเภทนี้จะเน้นที่การรักษาสภาพสินค้า และการป้องกันการสูญหายของสินค้าเป็นสำคัญ
- ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution center, DC) ศูนย์กระจายสินค้า คือ คลังสินค้าที่ทำหน้าที่ทั้งในฐานะเป็นคลังสินค้า (Warehouse) และเป็นหน่วยเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิต (Manufacturer) กับผู้ขายปลีก (Retailers) จะเป็นผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ (Logistics Provider) ในด้านการจัดเก็บสินค้าและการจัดการขนส่งสินค้าสำเร็จรูปให้กับลูกค้าได้ อย่างทันเวลาและถูกต้องตรงตามความต้องการ ศูนย์กระจายสินค้าส่วนใหญ่จะเป็นผู้ให้บริการภายนอก (Outsource) หรือ Third Party Logistics Service Providers (3PL) จะทำหน้าที่รับสินค้าจากผู้ผลิตแต่ละรายมาเก็บในคลังสินค้าของตน โดยดำเนินการบริหารจัดการในการควบคุมปริมาณด้านเทคโนโลยีในการกระจายและจัด ส่งสินค้าแทนเจ้าของสินค้าหรือผู้ผลิตสินค้าโดรับผิดชอบงานขนส่งจนสินค้าไป สู่ผู้รับ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นนี้ คือ การลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งของผู้ผลิตไปสู่ผู้ขายปลีกหรือลูกค้าแต่ละราย ผู้ผลิตสามารถขนส่งมาที่ศูนย์กระจายสินค้าเพียงแห่งเดียว โดยศูนย์กระจายสินค้าจะทำการกระจายสินค้าสู่ผู้ขายปลีกตามความถี่ที่ผู้ขายปลีกต้องการทำให้ไม่จำ เป็นต้องมีที่เก็บสินค้าคงคลังจำนวนมากที่ผู้ขายปลีกอีกต่อไป ค่าใช้จ่ายส่วนวัสดุคงคลังของร้านขายปลีกก็ลดลง ทำให้ต้นทุนรวมส่งผลให้มีความได้เปรียบในด้านการแข่งขันทั้งด้านราคาและความ รวดเร็วในการบริการ ในปัจจุบันร้านขายปลีกหลายแห่งจึงสามารถรับประกันราคาต่ำสุดแก่ผู้บริโภคได้
Photo : https://www.thestar.com.my/
หน้าที่หลักของศูนย์กระจายสินค้า
- จัดเตรียมสินค้าจากที่ต่างๆ มารวมกันในปริมาณที่มากพอที่จะกระจาย
- สินค้าเหล่านั้นมาจากหลายแหล่งการผลิต กล่าวคือ เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมสินค้ามาไว้ด้วยกัน
- ทำหน้าที่จ่ายสินค้าไปตามออเดอร์ที่เข้ามา
ศูนย์กระจายสินค้าที่ดีต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
- ตั้งอยู่ในทำเลที่ดี การคมนาคมสะดวก เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง
- มีอุปกรณ์การขนย้ายสินค้าที่ได้มาตรฐาน รักษาคุณภาพของสินค้าไว้ได้จนถึงมือลูกค้า
- บริหารเวลาในการกระจายสินค้าได้ดี มีประสิทธิภาพในการทำงาน
ข้อดีของศูนย์กระจายสินค้า
- ลดต้นทุนการกระจายสินค้าให้แก่โรงงาน ไม่ต้องจ่ายค่าขนส่งทางไกล หลายที่ ที่ต้องมีค่าใช้จ่ายมากเกินความจำเป็น
- ประหยัดต้นทุนการลงทุนสร้างคลังสินค้า ผู้ผลิตไม่ต้องตั้งคลังสินค้าขนาดใหญ่ในหลายที่เพื่อที่จะเก็บสินค้า เพื่อให้ส่งได้รวดเร็วตามออเดอร์ เพราะที่นี่เป็นที่รวมให้แล้ว อีกทั้งทำหน้าที่รับคำสั่งซื้อ ส่งสินค้าให้ด้วย
- มีการบริหารจัดการสินค้าคงคลังและไม่ต้องเก็บรักษาสินค้าคงคลังนานเกินไป
- ช่วยลดสต๊อกของผู้จัดจำหน่าย เพราะไม่ต้องสั่งสินค้าสำรองเอาไว้จำนวนมาก เนื่องจากศูนย์กระจายสินค้าทำหน้าที่แทนแล้ว และสามารถตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างรวดเร็ว
โลจิสติกส์ธุรกิจที่มาแรงในยุคโควิด-19
- E-Commerce โอกาสของธุรกิจโลจิสติกส์ การเติบโตของ E-Commerce ในปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น มีผู้ประกอบการรายย่อยขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก จำนวนสินค้าที่มีการเคลื่อนย้ายขนส่งมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 1 ล้านชิ้นต่อวัน อาจกล่าวได้ว่าการเติบโตของ E-Commerce นั้นมีส่วนที่ทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ในอนาคตข้างหน้าอัตราการเติบโตของ E-Commerce ก็มีการคาดการณ์ไว้ว่าจะพุ่งสูงขึ้นไปอีก สวนทางกับผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่เริ่มมีจำนวนไม่เพียงพอ
- ขยายขอบเขตได้มากกว่าแค่ส่งพัสดุ ปัจจุบันโลจิสติกส์ได้ขยายขอบเขตขึ้นมาก ทำให้แทบไม่มีข้อจำกัดของสินค้าที่จะนำส่ง อย่างที่ทราบกันดีก็คงจะเป็นการนำส่งสินค้าประเภทอาหารผ่านทางเมสเซนเจอร์ บริการขนส่งแบบแช่เย็นสำหรับสินค้าที่เน่าเสียง่าย หรือบริการส่งไม้ประดับที่ต้องใช้การดูแลเป็นอย่างสูง เนื่องจากความต้องการของลูกค้ามีมากมายหลากหลายขึ้น บริการขนส่งที่สามารถเจาะผู้ใช้บริการเฉพาะกลุ่มได้นั้น จึงสามารถดึงส่วนแบ่งทางการตลาดของกิจการขนส่งเหล่านี้ออกมาได้อย่างแน่นอน
- ความรวดเร็วคือความต้องการของผู้บริโภค การแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบันไม่ได้มีเพียงแค่ประสิทธิภาพของสินค้าอีกต่อไป ความรวดเร็วในการขนส่ง เกิดเป็นธุรกิจโลจิสติกส์แบบ On-Demand โดยปกติแล้วการสั่งสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์นั้นจะต้องทำการรอสินค้าอย่างน้อย 1-2 วัน ทำให้เริ่มมีผู้ประกอบการบางรายเห็นโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าได้มากกว่าด้วยการนำส่งสินค้าให้ลูกค้าในทันที หรือที่เรียกกันว่า On-Demand Delivery แต่การจัดส่งสินค้าแบบ On-Demand นั้นก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการจัดส่งสินค้าแบบปกติหลายเท่าตัว เนื่องจากปริมาณที่สามารถนำส่งได้ในแต่ละครั้งนั้นมีจำนวนน้อย อีกทั้งยังไม่มีผู้ที่ลงทุนในด้านนี้อย่างเต็มตัว ด้วยความต้องการใหม่ของผู้บริโภค นี่อาจเป็นโอกาสที่คุณจะได้เริ่มต้นใหม่ในธุรกิจนี้ สร้างมาตรฐานใหม่ในการขนส่งรายวันเพื่อสร้างผลกำไร
- e-Fulfillment (อี-ฟูลฟิลล์เม้นท์) หรือคลังสินค้าออนไลน์ หมายถึง ผู้ให้บริการคลังสินค้าพร้อมจัดส่ง ที่ครอบคลุมบริการหลายอย่าง ซึ่งจะเหมาะกับธุรกิจที่ค้าขายออนไลน์ปัจจุบัน และบริหารจัดการสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการ ปัญหาหลัก ๆ ที่เกิดขึ้นให้สินค้าภายในคลังสินค้าไม่แม่นยำ หาสินค้าไม่เจอ เสียเวลาค้นหานาน สินค้าสูญหาย สินค้าล้นคลัง สินค้าขาดสต็อก โดยการทำงานกิจกรรมหลัก หรือรูปแบบการบริการของระบบ อี-ฟูลฟิลล์เม้นท์ หรือคลังสินค้าออนไลน์ บริการพื้นที่จัดเก็บ ( Storage Service) บริการค้นหาสินค้า และบรรจุหีบห่อ ( Pick & Pack Service ) บริการจัดส่ง (Delivery Service)
สร้างศูนย์กระจายสินค้า นำหน้าคู่แข่ง
การสร้างโรงงาน โกดัง หรือคลังสินค้า ให้เป็นศูนย์กระจายสินค้า เป็นการลงทุนครั้งสำคัญของธุรกิจ การวางแผนก่อนที่จะมีการก่อสร้างเกิดขึ้นจริง ครอบคลุมความเสี่ยงต่าง ๆ ได้นั้น จะช่วยสนับสนุนบริหารจัดการต้นทุนดำเนินกิจการได้หลายด้าน โดยเฉพาะต้นทุนที่จะเกิดจากค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ เช่น หากเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานไม่เหมาะสมตั้งแต่แรก แม้จะนำระบบโลจิสติกส์มาใช้ ก็เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น ศึกษาเพิ่มเติม การเลือกที่ตั้งโรงงานและคลังสินค้า – 4 ปัจจัยสำคัญช่วยตัดสินใจ อาทิเช่น การเลือกทำเล การเลือกทำเลที่ตั้งของโกดัง ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่จะคำนึงถึงถึงความเหมาะสมเพื่อประโยชน์ของธุรกิจ อันจะก่อให้เกิดยอดขาย และกำไร โดยมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำ ดังนั้น ผู้ผลิตหรือออกแบบโกดังควรยึดหลักสำคัญในการกลยุทธ์การเลือกทำเลที่ตั้ง 3 อย่าง คือ
- การเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าใกล้แหล่งผลิตและตลาด โดยจะต้องให้สอดคล้องกัน ซึ่งหากทำได้จะเป็นวิธีการในการลดต้นทุนได้ทั้งต้นทุนการขนส่ง ต้นทุนในการบริการลูกค้า
- การเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าใกล้ตลาด ทำเลใกล้ตลาดอาจะเป็นผลดีต่อการให้บริการ แต่ทั้งนี้เนื่องจากการตั้งคลังสินค้าใกล้ตลาดจะต้องใช้ต้นทุนคงที่ด้านที่ดิน อาคารและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ที่อาจมีต้นทุนสูงมาก
- การเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าใกล้แหล่งผลิต คลังสินค้าวัตถุดิบจะมีความสำคัญมากในกระบวนการเริ่มต้นของการผลิตการเลือกทำเลที่ตั้งในลักษณะนี้จะต้องอยู่ใกล้กับแหล่งวัตถุดิบให้มากที่สุดทั้งนี้ เนื่องจากความต้องการวัตถุดิบมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
เทคนิคการก่อสร้างคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ
- การเลือกทำเล
- วัสดุกันความร้อน
- การเลือกผู้เชี่ยวชาญ
- การจัดวางอุปกรณ์
- ความสะดวกในการบำรุงรักษา ซ่อมแซมระบบ
- ระบบกล้องวงจรปิด
- พื้นของโกดัง
- การวางแผนที่ดี
- มองคลังสินค้าแบบสามมิติ
- ระบบโลจิสติกส์
บทความที่น่าสนใจ :
E-commerce Warehouse ก้าวเป็นผู้นำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ต้องมีคลังสินค้า โกดัง แบบไหน
Skylight หลังคาคลังสินค้า โรงงาน แบบไหนประหยัด เพิ่มกำไรให้ธุรกิจ
Bonded Warehouse เจาะลึกคลังสินค้าทัณฑ์บน สินค้านำเข้าส่งออกปลอดภาษีจริงไหม?
Distribution Center สร้างศูนย์กระจายสินค้า ก้าวนำหน้าธุรกิจโลจิสติกส์ โลจิสติกส์ถือเป็นส่วนสำคัญในเกือบทุกวงการธุรกิจ โดยนอกเหนือไปจากการออกแบบและผลิตสินค้าให้ถูกใจกลุ่มเป้าหมายแล้ว การขนส่งสินค้าไปให้ถึงมือของลูกค้าก็เป็นเรื่องที่ไม่สามารถละเลยได้เช่นกัน โดยหากสินค้าเสียหายหรือไปถึงมือลูกค้าช้า ย่อมส่งผลกระทบต่อบริษัทอย่างแน่นอน และนอกเหนือไปจากการขนส่งสินค้าไปให้ลูกค้าแล้ว การขนส่งและจัดเก็บวัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพจะส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตลดลง หรือสามารถเพิ่มกำลังผลิตให้สูงขึ้นในเวลาเท่าเดิมได้ การออกแบบ ศูนย์กระจายสินค้า คลังสินค้ามีหลายปัจจัยให้ตัดสินใจ ที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณที่สุด และย่อมเป็นผลดีต่อการขยับขยายธุรกิจอย่างยิ่ง เพื่อให้ได้ศูนย์กระจายสินค้า คลังสินค้าที่ลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว บริษัท เน็กซ์พลัส เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด รับออกแบบพร้อมสร้างคลังสินค้าครบวงจร ยินดีให้คำปรึกษาแนะนำสำหรับทุกท่าน เพื่อให้การออกแบบและก่อสร้างคลังสินค้าของคุณ ตอบโจทย์ธุรกิจของคุณให้มากที่สุด ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และทีมงานที่พร้อม ทั้งออกแบบคลังสินค้าขนาดใหญ่ กว่า 10000 ตร.ม. หรือคลังสินค้าขนาดเล็ก ให้เราเป็นส่วนหนึ่งในการขยายกิจการของคุณ