พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้ก่อนสร้างโรงงาน หรือ คลังสินค้า เพื่อขอใบอนุญาตก่อสร้าง ให้โรงงานแต่ละประเภท ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 33
พรบ. ควบคุมอาคาร คืออะไร
พรบ. ควบคุมอาคาร จะแบ่งแยกเป็นหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น การสร้างบ้าน การสร้างอาคาร คลังสินค้า หรือการสร้างถนนหนทาง ฯลฯ โดยจะอ้างอิงจากพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด หรือกฎหมายควบคุมอื่นๆ หลักๆ สำหรับผู้ที่ต้องการสร้างคลังสินค้า หรือ โรงงาน จำเป็นต้องพิจารณาดังนี้
- ต้องพิจารณากฎหมายผังเมืองรวม โซนสีม่วง เป็นพื้นที่ที่ท่านจะ ก่อสร้างคลังสินค้า หรือโรงงานได้
- พิจารณาข้อบัญญัติท้องถิ่น ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ที่ท่านมีความประสงค์จะก่อสร้าง ซึ่งมีข้อกำหนดดังนี้
ที่ดินประเภท อ.1 – กำหนดเป็นเขตอุตสาหกรรม เพื่อการบริหารและจัดการ สิ่งแวดล้อม สำหรับการประกอบกิจการประเภทอุตสาหกรรมการผลิตที่มีมลพิษน้อย
ที่ดินประเภท อ.2 – กำหนดเป็นนิคมอุตสาหกรรม ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรม ที่ดินประเภทนี้ ให้ใช้ประโยชน์เพื่ออุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละสิบ และห้ามใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อกิจการตามที่กำหนด - พิจารณาตามกฎหมายควบคุมอาคารเป็นหลัก เช่น กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พศ.2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร 2522 ข้อ 38
- ข้อ 38 คลังสินค้าที่มีพื้นที่ของอาคารทุกชั้นรวมกันตั้งแต่ 100 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 500 ตารางเมตร ต้องมีที่ว่างห่างแนวเขตที่ดินที่ใช้ก่อสร้าง อาคารนั้นไม่น้อยกว่า 6 เมตรสองด้าน ส่วนด้านอื่นต้องมีที่ว่างห่างแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 3 เมตร
- คลังสินค้าที่มีพื้นที่ของอาคารทุกชั้นรวมกันเกิน 500 ตารางเมตร ต้องมีที่ว่างห่างแนวเขตที่ดินที่ใช้ก่อสร้างอาคารนั้นไม่น้อยกว่า 10 เมตร สองด้าน ส่วนด้านอื่นต้องมีที่ว่างห่างจากแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 5 เมตร”
- พิจารณาตามกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายเรื่องสิ่งแวดล้อม กฎหมายควบคุมอาคาร หรือ กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมมลพิษ
โครงการก่อสร้างโรงงานกระดาษ จ. เพชรบุรี โดยอ้างอิง พรบ. ควบคุมอาคาร
กฎหมายควบคุมอาคาร คืออะไร
กฎหมายที่ว่ากันด้วยเรื่องเกี่ยวกับแนวอาคารและระยะร่นอาคาร การสร้างคลังสินค้าในแต่ละครั้งผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาคาร คลังสินค้า โรงงาน ที่สูงเกิน 2 ชั้นหรือเกิน 8 ม. ต้องมีระยะร่นอาคารดังนี้
ภาพแสดง ระยะร่นอาคาร จากถนนสาธาณะ
ระยะร่นอาคาร จากถนนสาธารณะ
- ถ้าถนนสาธารณะนั้นมีความกว้างน้อยกว่า 10 ม. ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะ อย่างน้อย 6 ม.
- ถ้าถนนสาธารณะนั้นมีความกว้างตั้งแต่ 10 ม. ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 ม. ให้ร่นแนวอาคารห่างจากเขตถนนสาธารณะอย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างของถนนสาธารณะ
- ถ้าถนนสาธาณะนั้นมีความกว้างเกิน 20 ม.ขึ้นไป ให้ร่นแนวอาคารห่างจากถนนสาธารณะอย่างน้อย 2 ม.
ภาพแสดง ระยะร่น ที่ว่างถนน ตามประเภทอาคาร
ระยะร่นที่ว่าง ถนน ตามประเภทอาคาร
- โรงงาน อาคารสาธารณะและอาคารอื่น ซึ่งไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ต้องมีที่ว่างไม่น้อยก่วา 10 ใน 100 ส่วนของพื้นที่ที่ดิน แต่ถ้าใช้เป็นที่อยู่อาศัยต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 30 ใน 100 ส่วนของพื้นที่ที่ดิน
- โรงงานอุตสาหกรรม คลังสินค้า อาคารสูงเกิน 2 ชั้นหรือสูงเกิน 8 ม. ยกเว้นอาคารอยู่อาศัยสูงไม่เกิน 3 ชั้น ที่ไม่อยู่ริมทางสารณะ ให้มีที่ว่างด้านหน้ากว้างไม่น้อยกว่า 6 ม. แต่ถ้าอาคารสูงเกิน 3 ชั้น ต้องมีที่ว่างกว้างไม่น้อยกว่า 12 ม.
ภาพแสดง ระยะร่นจากแนวเขตที่ดินผู้อื่น
ระยะร่นจากแนวเขตที่ดินผู้อื่น
- คลังสินค้าหรืออาคารเก็บสินค้าที่มีพื้นที่ของอาคารทุกชั้นรวมกันตั้งแต่ 100 ตรม. แต่ไม่เกิน 500 ตรม. ต้องมีที่ว่างห่างเขตที่ดินที่ใช้ก่อสร้างอาคารนั้น ไม่น้อยกว่า 6 ม. อย่างน้อย 2 ด้าน และยาวรวมกันไม่น้อยกว่าครั้งหนึ่งของเส้นรอบรูปอาคารส่วนด้านอื่นต้องมีที่ว่างห่างแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 3 ม. ถ้าที่ว่างห่างเขตที่ดินที่ใช้ก่อสร้างอาคารน้อยกว่า 5 ม.ต้องสร้างผนังอาคารเป็นผนังกันไฟ
- คลังสินค้าหรืออาคารเก็บสินค้าที่มีพื้นที่ของอาคารทุกชั้นรวมกันเกิน 500 ตรม. ต้องมีที่ว่างห่างแนวเขตที่ดินที่ใช้ก่อสร้างอาคารนั้นไม่น้อยกว่า 10 ม. อย่างน้อย 2 ด้าน และยาวรวมกันไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของเส้นรอบรูปอาคาร ส่วนด้านอื่นต้องมีที่ว่างห่างจากแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 5 ม.
- โรงงานที่มีพื้นที่ที่ใช้ประกอบกิจการของอาคารทุกชั้นรวมกันตั้งแต่ 100 ตรม. แต่ไม่เกิน 500 ตรม. ต้องมีที่ว่างห่างแนวเขตที่ดินที่ใช้ก่อสร้างอาคารนั้น ไม่น้อยกว่า 3 ม. จำนวน 2 ด้าน
- โรงงานที่มีพื้นที่ที่ใช้ประกอบกิจการของอาคารทุกชั้นรวมกันตั้งแต่ 500 ตรม. แต่ไม่เกิน 1,000 ตรม. ต้องมีที่ว่างห่างแนวเขตที่ดินที่ใช้ก่อสร้างอาคารนั้น ไม่น้อยกว่า 6 ม. ทุกด้าน
โรงงานที่มีพื้นที่ที่ใช้ประกอบกิจการของอาคารทุกชั้นรวมกันตั้งแต่ 1,000 ตรม. ต้องมีที่ว่างห่างแนวเขตที่ดินที่ใช้ก่อสร้างอาคารนั้นไม่น้อยกว่า 10 ม.ทุกด้าน
Key takeaway
ผู้ประกอบการ ที่ต้องการสร้างโรงงาน หรือ คลังสินค้า จำเป็นต้องพิจารณาข้อกำหนดทางกฎหมาย ซึ่งระบุไว้ใน พรบ. ควบคุมอาคาร ดังนี้
- ต้องพิจารณากฎหมายผังเมืองรวม ในพื้นที่ที่จะก่อสร้าง ว่ากำหนดการใช้ประโยชน์ของที่ดินไว้อย่างไรบ้าง
- พิจารณาข้อบัญญัติท้องถิ่น ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ที่มีความประสงค์จะก่อสร้าง
- คลังสินค้าที่มีพื้นที่ของอาคารทุกชั้นรวมกันเกิน 500 ตารางเมตร ต้องมีที่ว่างห่างแนวเขตที่ดินที่ใช้ก่อสร้างอาคารนั้นไม่น้อยกว่า 10 เมตร สองด้าน ส่วนด้านอื่นต้องมีที่ว่างห่าง
พิจารณาตามกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
อ้างอิง: www.terrabkk.com