Build a factory to reduce costs สร้างโรงงานเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน
การขยายธุรกิจ การลงทุน สร้างโรงงานต้องใช้ต้นทุนจำนวนมาก ต้องผ่านการตัดสินใจพิจารณาในหลายแง่มุม ทั้งเจ้าของธุรกิจ ต้องการขยายฐานการผลิตเพิ่มมากขึ้น ต้องใช้กำลังผลิตจำนวนมาก สินค้าเป็นที่ต้องการในตลาดสูง แน่นอนการสร้างโรงงานเพิ่มเป็นการทำให้ให้ธุรกิจเดินหน้าไปได้เร็วกว่าเดิมอย่างแน่นอน การจะสร้างโรงงานต้องคำนึงเรื่องไหนบ้าง ที่ไม่ควรมองข้ามมาติดตามกัน Build a factory to reduce costs สร้างโรงงานเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน
สร้างโรงงาน ให้คุ้มค่า ต้องคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้าง
- ต้นทุนด้านงบประมาณ เป็นเรื่องของเงินที่เข้ามาเกี่ยวข้อง การจะเลือกสร้างบนพื้นที่นั้น ๆ หรือมองหาแหล่งโรงงานให้เช่าพิจารณาต้นทุนเป็นสำคัญ หลัก ๆ คือจุดคุ้มทุนที่ต้องมองให้ออกว่าควรเลือกสร้างหรือเช่า หากสร้างมีงบประมาณเบื้องต้นเท่าไหร่ ความยุ่งยากในการก่อสร้าง ฯลฯ หรือถ้าเลือกเช่ามีค่าเช่าต่อเดือนมากน้อยเพียงใด ค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่น ๆ คุ้มค่าผลกำไรที่ธุรกิจจะได้รับหรือไม่ เป็นต้น เพราะเจ้าของกิจการแต่ละคนมีต้นทุนไม่เหมือนกัน ดังนั้นถ้าพิจารณาในเรื่องงบตรงนี้ได้เหมาะสมก็จะสามารถนำเงินไปลงทุนในส่วนอื่น ๆ ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า
- ทำเลที่ตั้ง การจะเลือกว่าควรตั้งโรงงานหรือคลังสินค้าที่ไหนต้องมองหาทำเลที่ตอบโจทย์กับธุรกิจมากที่สุด ควรอยู่ใกล้กับแหล่งวัตถุดิบหรือสินค้า ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง, มีสิ่งสาธารณูปโภคต่าง ๆ เข้าถึงไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า น้ำประปา สัญญาณโทรศัพท์ สัญญาณอินเตอร์เน็ต, ไม่รุกล้ำหรือสร้างความรำคาญให้กับผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง เป็นต้น หากเลือกทำเลได้ดีย่อมมีชัยไปกว่าครึ่ง
- สิ่งแวดล้อมรอบข้าง ธุรกิจแต่ละประเภทต้องมองภาพให้ออกว่าโรงงานและคลังสินค้าของตนเองนั้นควรมีสภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร เช่น เป็นพื้นที่เปิดโล่ง มีอากาศถ่ายเทดี สินค้าไม่เกิดความเสียหายง่าย, ไม่ถูกล้อมรอบด้วยแหล่งชุมชนเพราะโอกาสโดนร้องเรียนจากชาวบ้านมีสูงจากเสียงเครื่องจักรที่สร้างความรำคาญ ไม่ว่าจะเป็นเสียงดังรบกวน กลิ่น , แหล่งระบายน้ำเสีย, ขนาดถนนเหมาะกับการขนส่งด้วยรถขนาดใหญ่ ฯลฯ หากสิ่งแวดล้อมรอบข้างสามารถตอบโจทย์ธุรกิจได้ทั้งหมดก็ถือว่าเหมาะสมกับการจัดตั้งเป็นอย่างมาก
- เส้นทางคมนาคม การเลือกโรงงานและคลังสินค้าที่ดีควรมีเส้นทางคมนาคมที่หลากหลาย ไม่ใช่การเข้าออกทางเดียว รวมถึงควรอยู่ในจุดที่สามารถเชื่อมต่อไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น ใกล้ทางด่วน, การเดินทางไปยังท่าเรือ สนามบิน หรือแหล่งรับ-ส่งสินค้าของธุรกิจไม่ไกลมากนัก, พนักงานเดินทางง่าย มีรถโดยสารเข้าถึง เป็นต้น การมองเรื่องระบบคมนาคมจะช่วยให้ธุรกิจของคุณประหยัดต้นทุนได้มากขึ้น อีกทั้งการหาพนักงานก็เป็นเรื่องง่ายด้วย บางครั้งแม้ต้นทุนเรื่องที่ดินหรือค่าเช่าจะแพงกว่าการเข้าไปอยู่ไกล ๆ แต่เมื่อมองภาพรวมและต้นทุนระยะยาว เช่น ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง, เงินเดือนพนักงานที่ต้องเพิ่มขึ้น ก็อาจคุ้มค่ากว่า
- ระบบสาธารณูปโภค เนื่องจากการตั้งโรงงานจะเน้นการใช้งานในระยะยาว สิ่งอำนวยความสะดวกจึงจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้ขั้นตอนการทำงาน และประสิทธิภาพในการทำงานออกมาดีที่สุด สิ่งอำนวยความสะดวกหลัก ๆ ที่แนะนำให้พิจารณา เช่น ระบบไฟฟ้า สว่างครอบคลุมทั้งโครงการหรือไม่ มีระบบพลังงานสำรองหรือเปล่า ระบบนำ คุณภาพน้ำ ระบบระบายน้ำ ระบบรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุม 24 ชั่วโมง ถนนภายในโครงการ (ต้องแข็งแรงพอที่จะรองรับการขนย้ายสินค้าที่มีน้ำหนักมาก รวมถึงต้องป้องกันน้ำท่วมด้วย) และ ลานจอดรถ เป็นต้น
- บริการสาธารณะทั่วไป บริการสาธารณะ เช่น โรงพยาบาล, สถานีดับเพลิง, สถานีตำรวจ, มหาวิทยาลัย, โรงเรียน ฯลฯ ต้องดูว่าธุรกิจของคุณนั้นเหมาะกับการเลือกไปตั้งอยู่ใกล้บริการเหล่านี้หรือไม่ เพราะอาจต้องใช้บริการโดยไม่คาดคิด เช่น เกิดอัคคีภัยหากใกล้สถานีดับเพลิง ความเสียหายก็มีโอกาสลดน้อยลง สิ่งเหล่านี้หลายคนอาจคาดไม่ถึงแต่ก็เป็นอีกเรื่องสำคัญที่ห้ามมองข้ามเด็ดขาด
ภาพประกอบ :freepik
ศึกษากฎหมายและใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ได้แบ่งโรงงานออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
- โรงงานประเภทที่ 1 หมายถึง โรงงานที่เครื่องจักรมีกำลังไม่เกิน 20 แรงม้าหรือเทียบเท่า และมีคนงานไม่เกิน 20 คน หากเป็นโรงงานประเภทนี้สามารถดำเนินกิจการได้ทันทีโดยไม่ต้องยื่นขออนุญาต (ยกเว้นกรณีที่ประกอบกิจการที่ก่อให้เกิดมลพิษ ให้จัดเป็นจำพวกเดียวกับโรงงานประเภทที่ 3)
- โรงงานประเภทที่ 2 หมายถึง โรงงานที่เครื่องจักรมีกำลังมากกว่า 20 แรงม้า แต่ไม่เกิน 50 แรงม้าหรือเทียบเท่า และมีคนงานมากกว่า 20 คน แต่ไม่เกิน 50 คน โรงงานประเภทนี้สามารถดำเนินกิจการได้ทันทีโดยไม่ต้องยื่นขออนุญาต แต่จะต้องมีการชำระค่าธรรมเนียมรายปีในทุก ๆ ปี (ยกเว้นกรณีที่ประกอบกิจการที่ก่อให้เกิดมลพิษ ให้จัดเป็นจำพวกเดียวกับโรงงานประเภทที่ 3 เช่นเดียวกัน)
- โรงงานประเภทที่ 3 หมายถึง โรงงานที่เครื่องจักรมีกำลังเกินกว่า 50 แรงม้า และมีคนงานมากกว่า 50 คน หรือเป็นกิจการที่ก่อให้เกิดมลพิษจากการผลิต โรงงานประเภทนี้จำเป็นต้องขอใบอนุญาตก่อนจึงจะดำเนินกิจการได้
โรงงานแต่ละประเภทสามารถจัดตั้งได้ที่บริเวณไหนบ้าง
- โรงงานทุกประเภท ห้ามจัดตั้งภายในบริเวณหมู่บ้านจัดสรร อาคารชุด หรือบ้านเพื่อพักอาศัย
- โรงงานประเภทที่ 1 และ 2 ห้ามก่อตั้งกิจการในระยะ 50 เมตรจากเขตติดต่อสาธารณะสถาน ได้แก่ โรงเรียน โรงพยาบาล วัด โบราณสถาน และแหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
โรงงานประเภทที่ 3 ห้ามก่อตั้งกิจการในระยะ 100 เมตรจากเขตติดต่อสาธารณะสถาน และต้องอยู่ในสถานที่และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีบริเวณเพียงพอ ไม่ก่อให้เกิดอันตราย เหตุรำคาญ หรือความเสียหายต่อบุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่น
ภาพประกอบ :freepik
การวางผังก่อสร้างโรงงาน
- การวางผังโรงงานที่ดีต้องใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากที่ดินมีต้นทุนสูงขึ้นทุกวัน ต้องใช้พื้นที่ที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลีกเลี่ยงการใช้พื้นที่อย่างสูญเปล่าหรือเปล่าประโยชน์ในทุก ๆ ทาง โดยการจัดวางเครื่องมือ จุดบริการและแรงงานจะต้องวางผังในแบบที่ทำให้พื้นที่มีการใช้สอยอย่างเหมาะสม คุ้มค่า ลดการสูญเสียพื้นที่ไปโดยไม่จำเป็น และต้องมีความยืดหยุ่น ทุกวันนี้โลกของเรามีนวัตกรรมใหม่ ๆ เกี่ยวกับกระบวนการผลิต รวมไปถึงเครื่องมือ เทคนิค และสินค้าต่าง ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการออกแบบแผนผังโรงงาน โกดัง หรือคลังสินค้าจะต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่นเป็นสำคัญ เพื่อให้โรงงานของเราพร้อมที่จะรองรับความเปลี่ยนแปลงหรือการขยับขยายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และต้องทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายน้อยที่สุด การเคลื่อนย้ายคือปัจจัยสำคัญในการทำงานภายในโรงงาน หากต้องการให้งานออกมามีประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น การเคลื่อนย้ายจะต้องเป็นเส้นตรงเพื่อความประหยัดเวลา แผนผังโรงงานที่ดีจึงต้องออกแบบให้เหมาะสม ไม่วกไปวนมา วางจุดการทำงานต่าง ๆ ให้เป็นระบบและเกิดการเคลื่อนย้ายน้อยที่สุดเพื่อลดการเสียเวลาและกำลังคนหรือเครื่องจักรโดยใช่เหตุ ความสะดวกในการประสานงานระหว่างฝ่ายต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แสงสว่างอย่างเพียงพอ การระบายอากาศที่เหมาะสม และลดผลกระทบจากความร้อน เสียง การสั่นสะเทือน ฝุ่น ไอสารเคมี กลิ่น และปัจจัยรบกวนจากสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องตรงตามระเบียบข้อบังคับของกฎหมาย
- วางระบบความปลอดภัยในโรงงาน เป็นที่ทราบกันดีว่าการทำโรงงานนั้นจะเต็มไปด้วยเครื่องจักร และอุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ มากมาย ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดเหตุไม่คาดฝันอย่างอุบัติเหตุจากการทำงาน หรือความผิดพลาดของอุปกรณ์ได้ การวางระบบความปลอดภัยจึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องคำนึง อย่างเช่น การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจสอบอุณหภูมิ ระบบไฟที่ส่องสว่างมากพอ ระบบแจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุ ชุดปฏิบัติการสำหรับพนักงาน โดยเฉพาะโรงงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีต่าง ๆ ยิ่งต้องยกระดับความปลอดภัยขึ้นเป็น 2 เท่า เพื่อป้องกันการรั่วไหลของเคมีออกไปยังภายนอกโรงงาน สามารถว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยโรงงานมาเป็นที่ปรึกษาได้
- การคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง อีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญของการทำโรงงานนั่นก็คือการก่อสร้าง ผู้รับเหมาที่ไว้ใจได้จึงสำคัญที่สุด ในการคัดเลือกนั้น แนะนำว่าให้เลือกผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ในการสร้างโรงงานก่อนเป็นอันดับแรก เพราะการสร้างโรงงานนั้น ไม่ได้มีโครงสร้างเหมือนกับอสังหาริมทรัพย์ทั่วไป ผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ด้านนี้จึงสามารถทำได้ดีกว่า คำนึงถึงผลกระทบในระยะยาวที่ไม่ต้องมากังวลถึงปัญหาด้านโครงสร้างในอนาคต ไม่ต้องมาตามแก้ปัญหาจุกจิกที่ผู้รับเหมาอาจดำเนินการพลาด ก็นับว่าคุ้มค่าทีเดียว
บทความที่เกี่ยวข้อง :
BMPLC New Factory Project 10,000 sq.m.
EPOXY FLOOR vs PU FLOOR เคลือบพื้นแบบไหนทนทานเหมาะกับโรงงาน คลังสินค้าของคุณ
E-commerce Warehouse ก้าวเป็นผู้นำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ต้องมีคลังสินค้า โกดัง แบบไหน
Bonded Warehouse เจาะลึกคลังสินค้าทัณฑ์บน สินค้านำเข้าส่งออกปลอดภาษีจริงไหม?
Feng Shui ต้องรู้ฮวงจุ้ยอาคาร คลังสินค้า โกดัง ให้ธุรกิจรุ่งเรือง เงินไหลมาเทมา
Skylight หลังคาคลังสินค้า โรงงาน แบบไหนประหยัด เพิ่มกำไรให้ธุรกิจ
Build a factory to reduce costs สร้างโรงงานเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน การสร้างโรงงาน คลังสินค้า ต้องคำนึงถึงการเพิ่มประสิทธิภาพและการลดต้นทุนของบริษัท และมีปัจจัยหลายปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณาควบคู่กัน ทุกกระบวนการล้วนสำคัญและต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ให้คำปรึกษา หรือเข้ามาควบคุมดูแล ตั้งแต่การวางแผนตลอดจนการก่อสร้าง ให้ได้คุณภาพ ฟังก์ชันตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ให้โรงงาน คลังสินค้า ใช้ได้เต็มประสิทธิภาพ พาธุรกิจให้รุ่ง นำหน้าคู่แข่ง และสู้กับทุกสถานการณ์
[…] […]
[…] […]