การออกแบบวางแผนพื้นที่ในคลังสินค้ายังไง ให้คุ้มค่า ระดับผู้เชี่ยวชาญ

การออกแบบคลังสินค้า ที่มีการไหลของสินค้าเข้าออกตลอดเวลา การวางแผนใช้งานพื้นที่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะคลังสินค้า สถานที่เก็บรักษาสินค้า จะมีพื้นที่สำหรับกิจกรรมต่าง ๆ เช่นพื้นที่รับสินค้า พื้นที่ในจัดเก็บสินค้า พื้นที่สำหรับการจัดส่งสินค้าและอื่น ๆ ดังนั้นจึงต้องมีจัดแบ่งพื้นที่เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุดในการดำเนินงาน ให้รวดเร็ว ไม่ติดขัน สินค้าไม่เสียหาย บริหารพื้นที่ให้คุ้มค่าที่สุด การวางแผนจัดผังพื้นที่ในคลังสินค้า (Inventory Plan) สามารถดำเนินการอย่างไรบ้างมาดูกัน

การกำหนดผังพื้นที่คลังสินค้า 

แผนผังคลังสินค้าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินงาน ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมการใช้เนื้อที่ในการดำเนินงานให้เป็นประโยชน์ สินค้าถูกเก็บรักษาอย่างมีระบบปลอดภัย เหมาะสม เนื้อที่จะถูกใช้ประโยชน์เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิผลของการดำเนินงานในแผนผังจะแสดงสิ่งต่าง ๆ เช่น

  • ผังแสดงพื้นที่ทางเข้าออกของตัวอาคารคลังสินค้า
  • ผังแสดงพื้นที่ในการรับสินค้า
  • ผังแสดงพื้นที่ที่ใช้ในการจัดเก็บสินค้า
  • ผังแสดงพื้นที่ที่ใช้ในการควบคุมการปฏิบัติการ
  • ผังแสดงพื้นที่ในการจัดส่งสินค้า

โดยธรรมชาติของตัวอาคารคลังสินค้ามักถูกออกแบบให้มีลักษณะที่คล้ายคลึงหรือเหมือนกันแทบทุกอาคาร แต่สิ่งที่แตกต่างกันของคลังสินค้าแต่ละแห่งคือ เรื่องของพื้นที่คลังสินค้า ซึ่งส่งผลต่อการออกแบบตัวอาคาร ดังนั้นการออกแบบอาคารคลังสินค้าจะต้องคำนึงถึงพื้นที่ของการเดินทางของรถบรรทุกขนส่งซึ่งมีขนาดยาว รวมถึงการคำนวณพื้นที่ในการรับน้ำหนักที่เหมาะสม เนื่องจากจะทำให้เกิดความยุ่งยากในช่วงเวลาที่มีการเข้าออกของรถบรรทุกจำนวนมาก

การกำหนดสัดส่วนการใช้พื้นที่ที่เป็นส่วนประกอบภายในคลังสินค้า 

  • ทางเดินหลัก (Main Aisles) ทางเดินหลักจะทอดยาวไปตามแนวทางของอาคารคลังสินค้า มักจะมีความกว้างอยู่ที่ 0–4.0 เมตร ตามความเหมาะสม โดยปกติควรให้รถยกขน 2 คัน สามารถสวนทางกันได้อย่างสะดวก และคล่องตัว
  • ทางเดินของคน (Personal Aisles) จะมีความกว้าง เท่ากับ 5 เมตร
  • ทางเดินสำหรับรถเข็นมือ (Hand Truck) จะมีความกว้าง เท่ากับ 1 เมตร รถเข็นมือเป็นอุปกรณ์ขนถ่ายที่ใช้ระบบไฮดรอลิกในการยกสินค้าใช้แรงงานคนในการควบคุม มีความสามารถในการยกขนได้ประมาณ 1,000 กิโลกรัม เหมาะสำหรับพื้นที่แคบ
  • ทางเดินสำหรับรถยกขน จำพวก สแต็กเกอร์ (Stacker) และทักค์ (Truck) ที่มีลักษณะเป็นรถบรรทุก เช่น รถฟอร์คลิฟท์ (Forklift Truck) จะมีความกว้างเท่ากับ 5 เมตร ความกว้างของรถอาจมีการเผื่อทางเดินเพิ่มเติมไว้อีกประมาณ 0.2–0.4 เมตร
  • ทางเดินพิเศษ (Special Aisles) ซึ่งเป็นทางเดินบริการ (Service Aisles) ที่มีจุดมุ่งหมายไว้ตรวจตราสินค้าในการวางสินค้าเป็นของกองขนาดใหญ่ ซึ่งอาจต้องเป็นทางเดินที่ทำให้สามารถเข้าถึงกองสินค้าเพื่อตรวจสอบได้

การกำหนดพื้นที่สำหรับสนับสนุนการเก็บรักษาสินค้า 

พื้นที่รับสินค้าบรรจุหีบห่อ จ่ายสินค้า พื้นที่สำนักงาน และพื้นที่อื่น ๆ เพื่อปฏิบัติการสนับสนุนการเก็บรักษาสินค้า ซึ่งควรทำการวางผัง (Layout) อย่างเหมาะสมตามสภาพ และความจำเป็นของพื้นที่โดยการจัดวางผังต้องพิจารณาหลายปัจจัย

  • ลักษณะของคลังสินค้าเป็นรูปแบบใด เช่น คลังห้องเย็นเก็บวัตถุดิบ หรือยาขวดเล็ก ๆ แต่มีมูลค่าสูงใช้พื้นที่ในการเก็บรักษาไม่มากนัก ส่วนคลังสินค้าที่เก็บวัตถุดิบทางการเกษตร เช่น ข้าว หรือมันสำปะหลัง จะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บกว้าง และมีหลังคาครอบคลุมมิดชิดเพื่อป้องกันละอองจากฝน เป็นต้น
  • ความยาวในแนวตั้ง หรือแนวนอนเป็นอย่างไร
  • กำหนดพื้นที่ทางเดินให้มีสัดส่วนเหมาะสมกับพื้นที่ใช้สอยในการสนับสนุนการเก็บรักษา
  • จัดลำดับความเหมาะสมของงานในแต่ละส่วน

การกำหนดทิศทางการเก็บรักษาสินค้า เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า การเลือกทิศทางที่เหมาะสมจะช่วยให้การใช้พื้นที่ รวมทั้งการเคลื่อนย้ายของสินค้าทั้งการนำเข้าเก็บและการนำออกไปจ่ายให้เกิดประโยชน์มากที่สุดการกำหนดทิศทางการเก็บรักษาจำเป็นต้องศึกษาถึงมาตรฐานของสินค้า พาเลท ชั้นวางสินค้า ช่องทางเดินมาตรฐาน ช่องทางเดินควรเป็นช่องทางที่เดินทางขวามือเป็นหลัก

อ้างอิง : www.iok2u.com

การกำหนดตำแหน่งของสินค้า 

เป็นการกำหนดพื้นที่การจัดเก็บสินค้า โดยบอกเป็นตำแหน่งที่เก็บของสินค้า กำหนดอยู่ในแผนผังพื้นที่ ติดไว้ที่ตัวชั้นวาง หัวเสา ฯลฯ มักกำหนดเป็นตัวอักษร หรือหมายเลข

ตัวอย่างโครงการ :
ออกแบบและก่อสร้างคลังสินค้าเกษตร 3,300 ตรม. บริษัท รุ่งนิรันดร์เคมีเกษตร จำกัด จ.พะเยา

https://www.nextplus.co.th/warehouse/built-rung-nirundr-3300-sqm-warehouse-phayao

ออกแบบและก่อสร้างคลังสินค้าเกษตร 3,000 ตร.ม. – บริษัทตรีเพ็ชร ครอปซายน์ จำกัด จันทบุรี

https://www.nextplus.co.th/warehouse/trepetch-cropscience-3000-sqm-warehouse

ออกแบบและก่อสร้างคลังสินค้า บริษัท แคล-คอมพ์ อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สาขาสมุทรสาคร (ขนาด 1,200 ตร.ม.)

https://www.nextplus.co.th/warehouse/new-warehouse-1200-calcomp

การออกแบบวางแผนพื้นที่การจัดเก็บสินค้าภายในคลังสินค้า เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เป็นการบริหารพื้นที่ให้คุ้มค่าที่สุด และเป็นประโยชน์ในการดำเนินงานในระยะยาว ที่ผู้ใช้งานจะดำเนินงานอย่างสะดวกรวดเร็ว ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานเองและสินค้า บริษัท เน็กซ์พลัส เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เราพร้อมให้คำแนะนำ ปรึกษาการออกแบบพร้อมก่อสร้างคลังสินค้า ตั้งแต่การสำรวจพื้นที่ ออกแบบภาพ 3D ให้เห็นภาพจริง วางแผนให้คลังสินค้าของคุณใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ คุ้มค่า ได้มาตรฐานวิศวกรรม ด้วยทีมงานวิศวกร สถาปนิก ช่างชำนาญการเฉพาะด้าน