Working in Hot Weather ทำงานในคลังสินค้า โรงงาน ที่มีอากาศร้อน อันตรายถึงชีวิต
เข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการ อากาศร้อน และร้อนมากในหลายจังหวัดของประเทศไทย ทำให้การใช้ชีวิตทำงาน มีความยากลำบากมากยิ่งขึ้น ยิ่งเป็นอาชีพที่ต้องทำงานกลางแจ้ง ทำงานโรงงาน คลังสินค้า ที่มีอณุภูมิสูง นั้นอันตรายมากกว่าที่คุณคิด ช่วงนี้มีข่าวให้เห็นกันบ่อย กับอาการฮีทสโตรก อันตรายถึงชีวิต รวมไปถึงเรื่อง แสง เสียง ฉะนั้น “ความปลอดภัย” ในการทำงาน การทำงานในพื้นที่ๆ มีความปลอดภัยได้มาตรฐาน มีมาตรการป้องกัน หรือมาตรฐานความปลอดภัยในคลังสินค้า โกดัง โรงงานซึ่งถือเป็นเรื่องที่ทาง ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึง และต้องศึกษาให้ดี เพื่อป้องกันและเตรียมรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที Working in Hot Weather ทำงานในคลังสินค้า โรงงาน ที่มีอากาศร้อน อันตรายถึงชีวิต
มาตรฐานความปลอดภัยในโรงงานที่ควรรู้
มาตรฐานความปลอดภัยด้านความร้อน
- สภาพความร้อนในโรงงาน คลังสินค้า โกดัง เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานภายในโรงงานอุตสาหกรรม คลังสินค้าเช่นกัน ประการแรกเลยคือไม่ควรปล่อยให้อุณหภูมิภายในโรงงาน คลังสินค้าสูงเกินไป กระทั่งส่งผลให้ลูกจ้างมีอุณหภูมิในร่างกายสูงเกิน 38 องศาเซลเซียส หากลูกจ้างมีอุณหภูมิในร่างกายสูงเกินจากค่านี้ เป็นไปได้ว่าโรงงาน คลังสินค้านั้นมีระบบการจัดการที่ไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม คลังสินค้าด้านความร้อน ซึ่งควรได้รับการแก้ไข
- เครื่องมือ มาตรการ และการแจ้งเตือนสำคัญ ภายในโรงงาน คลังสินค้าควรมีการปิดประกาศแจ้งเตือนในจุดที่มีความร้อนสูงจนเสี่ยงอันตรายให้ครบทุกจุด เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกจ้างเข้าใกล้บริเวณนั้น หรือถ้าหากมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริเวณนั้น ลูกจ้างก็จะได้กระทำการอย่างระมัดระวังและปฏิบัติตามข้อบังคับอย่างเคร่งครัด ยกตัวอย่างจุดที่ควรปิดประกาศแจ้งเตือน เช่น จุดที่เป็นแหล่งกำเนิดความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงจนส่งผลต่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของบุคคล การจัดการกับความร้อนก็เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจเช่นกันเพราะถือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในโรงงาน คลังสินค้าโดยตรง ควรจัดเตรียมเครื่องมือหรืออุปกรณ์ป้องกันความร้อนให้กับลูกจ้างอย่างเหมาะสม มีความสอดคล้องกับการทำงาน นอกจากนี้ควรมีมาตรการจัดการกับความร้อนอย่างทันท่วงทีหากเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้อุณหภูมิภายในโรงงาน คลังสินค้าสูงจนส่งผลให้อุณหภูมิภายในร่างกายของลูกจ้างมีค่าสูงเกิน 38 องศาเซลเซียส
- มาตรการการทำงานเพื่อความปลอดภัย สำหรับลูกจ้างที่ต้องทำงานกับบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงเกิน45 องศาเซลเซียส ทางโรงงาน คลังสินค้าควรกำหนดมาตรการการทำงานชัดเจน ให้มีการปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมเพื่อความปลอดภัย อาทิ การแต่งกายรัดให้กุม การสวมหมวกนิรภัย การสวมหน้ากากกันความร้อน และอื่น ๆ ตลอดระยะเวลาการทำงาน ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยและป้องกันอันตรายจากความร้อน การพักเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 38 องศาเซลเซียส ระหว่างการดำเนินงาน หากภายในโรงงาน คลังสินค้าเกิดสถานการณ์ที่ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นจนกระทั่งส่งผลต่อร่างกายของลูกจ้าง ทำให้ลูกจ้างมีอุณหภูมิสูงเกิน 38 องศาเซลเซียส จะต้องมีการจัดให้ลูกจ้างได้หยุดพักชั่วคราวเพื่อให้ร่างกายของลูกจ้างมีการปรับตัวจนกว่าอุณหภูมิในร่างกายของลูกค้าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
- ฮีตสโตรกจากอากาศร้อน อันตรายถึงชีวิต ภัยจากอากาศร้อนมีตั้งแต่อาการน้อยจนถึงอาการมาก ผู้ป่วยที่มีอาการน้อยได้แก่ คนไข้ที่มีอาการตั้งแต่การบวมเฉพาะปลายมือ ปลายเท้า คนไข้ที่ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ เวียนหัว ผู้ป่วยที่มีอาการมาก ได้แก่ กลุ่มคนไข้ที่มีอาการขาดน้ำจากการสูญเสียความร้อนเยอะ และอีกกลุ่มคือกลุ่มฮีทสโตรกหรือโรคลมแดด เป็นกลุ่มที่รุนแรงที่สุด ฮีทสโตรกสามารถทำให้เสียชีวิตได้ ความร้ายแรงของฮีทสโตรก คือ ร่างกายมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นจะทำให้ระบบในร่างกายทำงานผิดปกติไป โดยความผิดปกติเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ มึนศีรษะ ปวดศีรษะ อันนี้เป็นอาการเริ่มต้น หลังจากนั้น ถ้าเราไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ ก็จะทำให้เกิดอาการฮีทสโตรก ก็จะมีอาการที่มีความรู้สึกตัวที่ผิดปกติไป อาจจะมีภาวะชัก หรือว่าการหมดสติจากการที่หัวใจเราเต้นผิดจังหวะได้ และสุดท้ายคือเสียชีวิตได้
- สาเหตุ ฮีตสโตรกหรือโรคลมแดด เกิดจากภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงมากจนทำให้เกิดภาวะที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้ โดยอาการของกลุ่มฮีทสโตรก ส่วนใหญ่มักจะเกิดในผู้ป่วยที่อยู่กลางแดดนาน ๆ และมีอุณหภูมิกายมากกว่า 40 องศาเซลเซียส ร่วมกับภาวะที่มีความรู้สึกตัวที่ผิดปกติไป เช่น อาจจะหมดสติหรือมีภาวะชักได้ ซึ่งจะแตกต่างจากกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นลมปกติ โดยที่ประวัติที่แตกต่างกันเลยคือ ผู้ป่วยที่เป็นลมปกติไม่ได้อยู่กลางแดด
- สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคลมแดด อุณหภูมิที่สูง ความชื้น ความชื้นที่สูงทำให้อากาศถ่ายเทไม่ดี ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นได้ ภาวะแรงลม ถ้าไม่มีลม ก็ไม่สามารถพัดความร้อนได้
- กลุ่มเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะโรคลมแดด กลุ่มที่ต้องทำงานอยู่กลางแจ้ง เช่น คนงานก่อสร้าง คนที่เป็นนักวิ่งมาราธอน ทำงานอยู่ในพื้นที่ร้อนจัด คนสูงอายุ กลุ่มเด็ก พวกนี้จะมีการสูญเสียความร้อนได้มากกว่ากลุ่มวัยรุ่นปกติ คนไข้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ต้องใช้ยาโรคประจำตัว เช่น โรคพาร์กินสัน โรคความดันโลหิตสูง กลุ่มนี้ มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคลมแดดได้มากขึ้น
- การปฐมพยาบาล การปฐมพยาบาลกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคฮีทสโตรก อย่างแรกคือ ต้องดูว่าคนไข้มีภาวะความรู้สึกตัวที่ผิดปกติไปหรือเปล่า ถ้ามีภาวะความรู้สึกตัวที่ผิดปกติไป ให้ไปคลำชีพจรดูว่าการหายใจเขาผิดปกติหรือเปล่า ถ้ามีการหายใจที่ผิดปกติ ต้องทำ CPR และโทร 1669 เพื่อเรียกรถพยาบาลมารับผู้ป่วยไปโรงพยาบาลอย่างรวดเร็ว ในกลุ่มผู้ป่วยที่ยังมีความรู้สึกตัวที่ปกติดีอยู่ ก็สามารถนำผู้ป่วยเข้ามาในที่ร่มได้ และให้ผู้ป่วยดื่มน้ำให้เยอะ ๆ และรีบลดอุณหภูมิกายโดยการใช้น้ำแข็ง หรือการใช้ cool blanket คือการใช้ผ้ายาง ใส่น้ำแข็งลงไป แล้วให้ผู้ป่วยนอนอยู่ในตรงนั้น ถ้ามีพัดลม สามารถเปิดพัดลมได้ ถ้าใช้เป็นผ้าชุบน้ำ ในคนไข้ที่เป็นโรคกลุ่มฮีทสโตรก มักจะไม่ค่อยได้ผล แต่สามารถใช้ได้ โดยการเช็ดตัวให้เช็ดตัวเหมือนผู้ป่วยที่เป็นไข้ คือเช็ดสวนขึ้นมาเข้าทางหัวใจ เช็ดทางเดียว และเปิดพัดลม
- การป้องกัน การดูแลตัวเองในหน้าร้อน คืออย่าไปอยู่กลางแจ้งให้นานเกินไป ถ้ามีร่มก็สามารถใช้ร่มได้ ดื่มน้ำให้มาก ๆ ทานน้ำแข็ง ทานไอศกรีม หรือถ้าอยู่ในบ้าน พยายามเปิดประตู หน้าต่าง อย่าอยู่ในที่อับ อย่าอยู่ในห้องปิด การอยู่ในห้องปิดจะทำให้อากาศถ่ายเทไม่ได้ แล้วเกิดความร้อนสะสม ทำให้เกิดฮีทสโตรกได้แม้อยู่ในบ้าน ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว อย่าออกไปอยู่กลางแดดนานเกินไป ถ้าจำเป็นจริง ๆ ที่จะต้องออกไปอยู่กลางแจ้ง แนะนำว่าเราต้องหาเวลาเข้ามาอยู่ในที่ร่มบ้าง ถ้าเราอยู่กลางแดดนาน ๆ ก็จะเกิดฮีทสโตรกได้ข้อควรระวังคือ อย่าทำให้ร่างกายขาดน้ำ เตรียมน้ำ ดื่มน้ำเยอะ ๆ อาจจะต้องเยอะกว่าในฤดูอื่น
Photo : https://www.thedemostl.com/
มาตรฐานความปลอดภัยด้านแสงสว่าง
มาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานยังได้กำหนดเรื่องของแสงสว่างที่เพียงพอต่อการทำงานเอาไว้ด้วย เพื่อความปลอดภัยและการทำงานอย่างราบรื่น ไม่เป็นอันตราย โดยตามความละเอียดในงานนั้น ดังนี้
- แสงสว่างสำหรับงานที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดสูง ในส่วนของงานที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดสูง มีการกำหนดแสงสว่างที่เหมาะสมตามมาตรฐานคือ ควรมีแสงสว่างที่มีค่าความเข้มของแสงมากกว่า 50 Lux ตัวอย่างงานในลักษณะนี้ เช่น การบด การขนย้าย หรือการบรรจุ
- แสงสว่างสำหรับเก็บวัสดุ สำหรับพื้นที่ที่ใช้สำหรับเก็บวัสดุ ไม่ว่าจะเป็นโกดัง คลังสินค้า ห้องเก็บของและวัสดุ เฉลียงและบันไดภายในโรงงาน ได้มีข้อกำหนดเอาไว้ว่า ควรมีแสงสว่างที่มีค่าความเข้มของแสงมากกว่า 50 Lux
- แสงสว่างสำหรับงานที่ต้องใช้ความละเอียดเล็กน้อย ในส่วนของงานที่ต้องใช้ความละเอียดเล็กน้อยในการดำเนินงาน มีข้อกำหนดเอาไว้ว่าควรมีแสงสว่างที่มีค่าความเข้มของแสงมากกว่า 100 Lux ตัวอย่างงานในลักษณะนี้ เช่น การสีข้าว หรือการผลิตและประกอบชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์อย่างง่าย
- แสงสว่างสำหรับงานที่ต้องใช้ความละเอียดปานกลาง ในงานที่ต้องใช้ความละเอียดปานกลางเพื่อดำเนินงาน มีข้อกำหนดเอาไว้ว่าควรมีแสงสว่างที่มีค่าความเข้มของแสงมากกว่า 200 Lux ตัวอย่างงานในลักษณะนี้ เช่น การประกอบชิ้นส่วนภาชนะ การเย็บผ้าหรือการเย็บหนัง
- แสงสว่างสำหรับงานที่ต้องใช้ความละเอียดสูง ในส่วนของานที่ต้องใช้ความละเอียดสูงในการดำเนินงานนั้นควรมีแสงสว่างให้มากเข้าไว้ โดยมีข้อกำหนดเอาไว้ว่า ควรมีแสงสว่างที่มีค่าความเข้มของแสงมากกว่า 300 Lux ตัวอย่างงานในลักษณะนี้ เช่น การทดสอบและการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ การซ่อมแซมเครื่องจักร หรือการกลึงแต่งโลหะ
- แสงสว่างสำหรับงานที่ต้องใช้ความละเอียดสูงมากเป็นพิเศษ งานลักษณะนี้ต้องใช้แสงสว่างมากที่สุด เนื่องจากความละเอียดสูงมากเป็นพิเศษในการดำเนินงาน จึงมีข้อกำหนดไว้ว่าควรมีแสงสว่างที่มีค่าความเข้มของแสงมากกว่า 1000 Lux ตัวอย่างงานในลักษณะนี้ เช่น การเย็บผ้าสีมืดทึบ การประกอบชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็ก หรือการเจียระไนเพชร พลอย
- แสงสว่างสำหรับพื้นที่ Outdoor สำหรับพื้นที่ภายนอกอาคาร รวมถึงทางเดินและถนนซึ่งมีแสงสว่างจากธรรมชาติค่อนข้างมากอยู่แล้ว จึงได้มีการกำหนดค่าความสว่างเอาไว้ว่าควรมีแสงสว่างที่มีค่าความเข้มของแสงมากกว่า 20 Lux เท่านั้น
มาตรฐานความปลอดภัยด้านเสียง
มาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานด้านเสียง ได้กำหนดเอาไว้โดยพิจารณาจากระยะเวลาในการทำงาน ได้แก่
- เวลาทำงานไม่เกิน 7 ชั่วโมง/วัน สำหรับพนักงานที่ต้องทำงานต่อเนื่องภายในโรงงานโดยมีระยะเวลาในการทำงานไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน ได้มีการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมเอาไว้ว่า ระดับเสียงที่ได้รับติดต่อกันจะต้องมีค่าไม่เกิน 91 เดซิเบล
- เวลาทำงาน 7-8 ชั่วโมง/วัน สำหรับพนักงานที่ต้องทำงานต่อเนื่องภายในโรงงาน โดยมีระยะเวลาในการทำงาน 7-8 ชั่วโมงต่อวัน ได้มีการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมเอาไว้ว่า ระดับเสียงที่ได้รับติดต่อกันจะต้องมีค่าไม่เกิน 90 เดซิเบล
- เวลาทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมง/วัน สำหรับพนักงานที่ต้องทำงานต่อเนื่องภายในโรงงาน โดยมีระยะเวลาในการทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน ได้มีการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมเอาไว้ว่า ระดับเสียงที่ได้รับติดต่อกันจะต้องมีค่าไม่เกิน 80 เดซิเบล
- เสียงภายในสถานประกอบการ นอกจากการกำหนดระดับเสียงที่เหมาะสมตามระยะเวลาในการทำงานของบุคคลแล้ว ยังมีการกำหนดระดับเสียงภาพรวมภายในสถานประกอบการด้วยค่ะ ซึ่งตามมาตรฐานความปลอดภัยในโรงงานกำหนดเอาไว้ว่าระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับจะต้องมีค่าไม่เกิน 140 เดซิเบล
- สร้างห้องเก็บเสียง ในโรงงานที่มีเสียงดังเกินมาตรฐาน ควรมีการป้องกัน แก้ไข ไม่ว่าจะเป็นการสร้างห้องเก็บเสียง สำหรับเครื่องจักร อ่านเพิ่มเติม Noisy factory อย่าให้ปัญหาโรงงานเสียงดัง เป็นตัวถ่วงธุรกิจ
Working in Hot Weather ทำงานในคลังสินค้า โรงงาน ที่มีอากาศร้อน อันตรายถึงชีวิต กฎ ระเบียบ หรือข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่ผู้ประกอบการควรทราบมีรายละเอียดหลายด้าน ส่วนหนึ่งก็คือ “มาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม” เพื่อนำไปสู่การวางระบบและการจัดระเบียบภายในโรงงานให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความปลอดภัยเบื้องต้นนั่นเอง ทั้งอุณหภูมิ แสง เสียง ในการทำงานนั้นเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งนอกจากทำให้การทำงานได้เต็มประสิทธิภาพแล้ว ยังทำให้เครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ มีอายุการใช้งานที่ยืนยาว สร้างคลังสินค้า สร้างโกดัง สร้างโรงงาน ที่มีความปลอดภัยได้มาตรฐาน ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ มีทีมวิศวกรควบคุมให้คลังสินค้า โกดัง โรงงาน ของคุณสมบูรณ์แบบ ได้มาตรฐาน
บทความที่น่าสนใจ : บทความที่น่าสนใจ :
คุยกับสถาปนิค – 10 เทคนิควางแผนสร้างคลังสินค้า บริหารใช้งานเต็มประสิทธิภาพ
Safety first งานก่อสร้างได้มาตรฐาน ความปลอดภัยต้องมาก่อน
Distribution Center สร้างศูนย์กระจายสินค้า ก้าวนำหน้าธุรกิจโลจิสติกส์
Online seller build a warehouse อยากเป็นแม่ค้าออนไลน์ สร้างคลังสินค้าระดับ 1,000 ล้านต้องทำไง