Heat resistant building ไอเดียสร้างอาคารยังไง ให้เย็น เหมาะกับฤดูร้อนของไทย

อากาศร้อนมาก ถึงมากที่สุด แทบจะเป็นฤดูกาลเดียวในความรู้สึกของคนไทย อาจจะดีหน่อยที่ช่วงนี้มีฝนตกทำให้อากาศเย็นสบายขึ้น ในสถานการณ์โควิดระบาดอย่างหนัก หลายท่านต้อง Work From Home ทำให้ค่าไฟพุ่งกระฉูด บ้านก็ร้อน ค่าไฟก็แพง วันนี้เราเอาเทคนิคการออกแบบ สร้างอาคาร บ้าน ที่พักอาศัยมาฝากกัน เป็นแนวทางในการวางแผนออกแบบ สร้างอาคารให้ต้านทานความร้อน ช่วยในการประหยัดพลังงานในระยะยาว และใช้ชีวิตได้อย่างสบาย ไอเดียสร้างอาคารยังไง ให้เย็น เหมาะกับฤดูร้อนของไทย

ทิศทาง ในการวางแปลนอาคาร

ควรคำนึงถึงการจัดทิศทางของอาคารให้เหมาะสม มีทางลมเข้า-ออก จะช่วยให้อากาศถ่ายเทและเย็นสบายอยู่ตลอดเวลา และไม่ควรมีสิ่งก่อสร้างหรือสิ่งกีดขวางขนาดใหญ่ตรงทางลม เพราะจะไปบังลมที่จะหมุนเวียนเข้าสู่อาคาร

  • ทิศแสงแดด ดวงอาทิตย์จะโคจรอ้อมไปทางทิศใต้นาน 8 เดือน คือช่วงเดือนกันยายนถึงเมษายน และอ้อมไปทางทิศเหนือเล็กน้อย 4 เดือน ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม ทำให้ทิศใต้เป็นทิศที่รับแดดมากที่สุด แต่ทิศที่ร้อนที่สุดคือทิศตะวันตก เพราะรับแสงแดดโดยตรงในช่วงบ่ายนั่นเอง
  • ทิศของลมและฝน ทิศตะวันตกเฉียงใต้จะเป็นทิศที่มีฝนสาดเข้าบ้านมากที่สุด เพราะเป็นฤดูฝนซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ฤดูฝนจะเริ่มจากช่วงกลางเดือนพฤษภาคมและ ทิ้งช่วงไปสักพัก ก่อนจะกลับมาในเดือนกรกฎาคม จนไปสิ้นสุดในเดือนตุลาคม (แต่บางพื้นที่ เช่น ภาคใต้ ยังคงมีฝนตกชุกไปจนถึงปลายปี)  โดยมีทิศทางลมประจำถิ่นดังนี้
  • ช่วงกลางเดือนตุลาคม-กลางเดือนกุมภาพันธ์ มีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดพาอากาศหนาวมา
  • ช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงลมเปลี่ยนทิศจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
  • ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม-กลางเดือนตุลาคม มีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดพาฝนและความชื้นมา

หลังคา

ควรเลือกวัสดุมุงหลังคาที่สามารถป้องกันความร้อนได้อาทิ กระเบื้องคอนกรีต กระเบื้องไฟเบอร์ซีเมนต์ กระเบื้องดินเผา นำมาทาสีที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน หรือเลือกใช้กระเบื้องสำเร็จรูปรุ่นพิเศษที่ช่วยสะท้อนความร้อนได้ในตัวอาทิ กระเบื้องห้าห่วง ไตรลอน คูลซึ่งสะท้อนความร้อนได้สูงถึง 80% และประหยัดพลังงานในอาคารได้มากถึง 30% ควรหลีกเลี่ยงวัสดุประเภทสังกะสีและเมทัลชีท เพราะนอกจากจะนำความร้อนเข้ามาสู่ตัวอาคารแล้ว ยังเกิดเสียงดังก้องได้ง่ายจนสร้างความรำคาญ

ภาพประกอบ บ้านและสวน

ฝ้าและฉนวนกันความร้อน
ก่อนติดตั้งฝ้าเพดาน ควรใช้แผ่นสะท้อนความร้อนหรือฉนวนกันความร้อนบุใต้หลังคาและเลือกใช้ฝ้าที่มีช่องระบายอากาศเพื่อลดความร้อนอบอ้าวภายในอาคาร ควรเลือกฉนวนกันความร้อนแบบไหนที่เหมาะสมกับสภาพอากาศในประเทศไทย และต้านทานความร้อนได้ดี ฉนวนที่ดีมีการวัดค่า K Factor และ R Value ค่า K (สภาพการนำความร้อน) และค่า R (ประสิทธิภาพในการต้านทานความร้อน) ฉนวนความร้อนในปัจจุบันมีให้เลือกมากมายหลายชนิด เช่น ฉนวนใยแก้ว, เยื่อกระดาษ, ยิบซั่ม, แผ่นสะท้อนความร้อน, เซรามิกเคลือบผิว, ฉนวนโพลียูเทน ,ฉนวนโพลิเอทิลีน เป็นต้น หลักๆ ในการเลือกใช้งานฉนวนกันความร้อน เราจะพิจารณาจากสภาพการนำความร้อน (K) และ ประสิทธิภาพในการด้านทานความร้อน (R) ฉนวนกันความร้อนที่ดี ต้องมีค่าสภาพการนำความร้อนต่ำ (ค่า K ต่ำ) และต้านทานความร้อนสุง (ค่า R สูง) ซึ่งฉนวนกันความร้อนดี ต้องมีค่าต้นทานความร้อนสูง แลสภาพการนำความร้อนต่ำ ( พูดง่ายๆคือ ต้านทานความร้อนไม่พอ ต้องนำความร้อนได้ยากด้วย เมือเราพิจารณาทีคุณสมปัติของตัวฉนวนแล้ว เราก็ต้องมาดูเรื่องหน้างานที่จะใช้ สถานที่ รูปแบบการใช้ ช่วงอุณหภูมิที่ต้องการ วัสดุที่เป็นที่นิยมหายได้ง่ายในประเทศไทย เช่น โพลียูรีเทนโฟม (พี.ยู.โฟม) ซ็งเป็นฉนวนก้นความร้อนที่มีค่าการต้านทานรองลงมาจากโพโนลิคโฟม ถูกใช้อย่างกว้างขวางทั่วโลกในการรักษาอุณหภูมิ ฉนวนก้นความร้อน มีทั้งแบบไปฉีดติดพื้นผิวที่ต้องการและเป็นแผ่นสำเร็จรูป

ผนัง
ควรทำผนังให้มีคุณสมบัติกันความร้อน อาจเลือกใช้แผ่นผนังสำเร็จรูปที่มีชั้นกันความร้อนติดมาด้วยหรือติดฉนวนกันความร้อน หากเป็นผนังกระจกจะมีความร้อนเข้ามามากเป็นพิเศษ จำเป็นต้องทำชายคาหรือกันสาดให้ยาวเพื่อป้องกันไม่ให้แดดมากระทบกระจกมากจนเกินไป และอาจหาม่านหรือมู่ลี่มาติดเพิ่ม เพื่อช่วยกรองแสง

ภาพประกอบ www.nocnoc.com

สีและเคลือบ
ควรเลือกใช้หลังคาและผนังโทนสีอ่อน เพราะหากเป็นสีเข้มจะดูดความร้อนเข้ามาสู่ตัวอาคารได้มาก หรืออาจเลือกใช้สีที่มีคุณสมบัติด้านการสะท้อนความร้อนโดยเฉพาะ ปัจจุบันหลังคาที่จะทาสีด้วยเม็ดสีพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อสะท้อนรังสีดวงอาทิตย์ – ไม่ใช่แค่ในช่วงแสงที่มองเห็น แต่ยังรวมถึงสเปกตรัมอินฟราเรดด้วย สิ่งเหล่านี้สามารถ ลดอุณหภูมิพื้นผิว มากกว่า 10 ° C เมื่อเปรียบเทียบกับสีแบบดั้งเดิม กระจกพลังงานแสงอาทิตย์ประสิทธิภาพสูงบนหน้าต่างก็ช่วยได้เช่นกันด้วยสารเคลือบที่เป็น“ การเลือกสเปกตรัม” คือ เก็บความร้อนของดวงอาทิตย์ไว้ข้างนอก แต่ปล่อยให้แสงเข้ามา

ต้นไม้ และการจัดแต่งสวน

การปลูกต้นไม้เอาไว้ในบริเวณอาคารจะให้ความร่มรื่น ให้ร่มเงา และช่วยลดอุณหภูมิภายในอาคาร นอกจากนี้ หากมีพื้นที่รอบอาคารควรปลูกหญ้าหรือพืชคลุมดิน เพราะพืชคลุมดินจะดูดซับน้ำใต้ดินขึ้นมาแล้วระเหยออกทางใบ อุณหภูมิที่ผิวดินจึงเย็นลง ลองวัดระยะความห่างของที่ดิน จากมุมกำแพงรั้วไปถึงผนังอาคาร หากมีความยาวไม่ต่ำกว่า 3 เมตร การปลูกต้นไม้ใหญ่ก็ไม่ใช่ปัญหา การปลูกต้นไม้ใหญ่ในสวนนั้นมีหลักการไม่ยุ่งยาก เพียงแค่เลือกชนิดต้นไม้ที่ชอบ อาทิ ไม้ผล ไม้ดอกหอม หรือไม้ฟอร์มสวย ตามที่ตนเองต้องการ จัดปลูกในตำแหน่งที่ห่างจากผนัง แล้วเว้นระยะห่างจากรั้วไม่ต่ำว่า 1 เมตร ระวังกิ่งก้านยื่นออกไปยังบ้านข้างๆ ด้วยการหมั่นคอยตัดแต่งกิ่งอยู่เสมอ หากเป็นไม้ล้อมควรติดไม้ค้ำเพื่อพยุงไม่ให้ต้นไม้ล้ม จนสร้างความเสียหายให้กับอาคาร ต้นไม้ใหญ่ที่นิยมปลูกในสวน ส่วนใหญ่จะเป็นไม้มงคล อย่าง ต้นจิกน้ำ ต้นพะยอม ต้นสาละ ต้นอโศกอินเดีย ต้นปีบ ต้นราชพฤกษ์ หากที่ดินมีขนาดไม่กว้างมากควรเลือกไม้ใหญ่ที่มีใบน้อยและฟอร์มสูง อย่างต้นปาล์ม กล้วยพัด หมากเขียว หลิวจีน หรือจะเป็นไม้ยอดนิยมอย่างหูกระจงก็เหมาะสม สิ่งที่ไม่ควรลืมคือตำแหน่งที่ปลูกต้นไม้ใหญ่ไม่ควรเป็นทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นทิศที่มีลมพัดผ่าน หากจำเป็นต้องวางตำแหน่งดังกล่าวควรเลือกปลูกต้นไม้ที่มีใบน้อยหรือรูปใบละเอียดเพื่อไม่ให้กิ่งก้านบดบังสายลมที่จะพัดเข้าสู่ตัวอาคาร

น้ำ สร้างแหล่งน้ำไว้รอบอาคาร

อาทิ บ่อน้ำ สระน้ำ ช่วยคลายร้อนได้ เพราะเมื่อลมพัดผ่านน้ำ จะพาความเย็นจากน้ำเข้ามาสู่ตัวอาคาร น้ำช่วยดับร้อนในสวนได้ ไม่ว่าจะเป็นน้ำเพื่อการตกแต่งอย่างน้ำตก น้ำพุ สระว่ายน้ำ และระบบรดน้ำ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในการจัดสวน ไม่ว่าจะเป็นสปริงเกลอร์ระบบอัตโนมัติที่ตั้งเวลาทำงานได้เองและยังกระจายในจุดต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง หรือจะเป็นการรดน้ำโดยใช้สายฉีดแบบธรรมดา ซึ่งเหมาะกับสวนขนาดเล็ก น้ำเพื่อการตกแต่งในสวน จำเป็นต้องวางในตำแหน่งที่เหมาะสม คืออยู่ในทิศที่ลมพัดผ่านเข้าสู่ตัวอาคารจะได้ไอเย็นๆ จากน้ำช่วยให้บ้านเย็นขึ้น หากเป็นสระน้ำ สิ่งที่ต้องระวังคือความลึกของสระ โดยเฉพาะที่อยู่ในทิศตะวันตก หากตื้นสั้นน้ำจะสะท้อนความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านโดยตรง แต่หากมีความลึกอย่างน้อยคือ 1 เมตร สระน้ำจะเป็นตัวป้องกันความร้อนให้ตัวอาคารโดยดูดความร้อนลงสู่ก้นสระและระเหยเป็นไอเย็นออกมา บ่อปลาก็เช่นเดียวกันควรลึก 1.50 เมตร ซึ่งเป็นความลึกที่เหมาะสำหรับเลี้ยงปลาคาร์ป

Heat resistant building สบาย ไอเดียสร้างอาคารยังไง ให้เย็น เหมาะกับฤดูร้อนของไทย  สำหรับไอเดียที่เราเอามาฝากกันเป็นแนวทางในการวางแผนสร้างอาคารและที่พักอาศัย เหมาะกับสภาพอากาศของประเทศไทย ที่ร้อน และร้อนมาก และช่วยคุณประหยัดพลังงาน ค่าไฟในการเปิดเครื่องปรับอากาศ ตลอดทั้งวัน ใช้ชีวิต ทำกิจกรรมต่างๆ อย่างสบายใจ ไม่ว่าจะเป็น การออกแบบวางแผน การเลือกวัสดุ การปรึกษาสถาปนิกและวิศวกรในการออกแบบและก่อสร้างที่มาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้ามาปรึกษาและสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมออกมาตามความต้องการของคุณ อ่านบทความต่อ Void & Window for Architectural งานออกแบบหน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม เพื่อรับแสง ถ่ายเทอากาศ และประหยัดพลังงาน

Data&Photo  http://old.2e-building.com/article.php?cat=knowledge&id=214  https://www.scgbuildingmaterials.com/th/ideas/tips-and-tricks
https://www.baanlaesuan.com/150607/ideas/plan_house
https://dsignsomething.com
ภาพประกอบปก: Brett Boardman Photography  https://casalibrary.com/2018/12/01/dunalley-house-by-stuart-tanner-architects/?fbclid=IwAR1XdjGT5C0UOhp8y3Hj0n7L91l7R3coUWoA4sbbc0nGfq1LlGIXuoMpvO4