Noisy machinery เครื่องจักรเสียงดังแก้ปัญหาไม่จบ รู้ก่อนหยุดเสียงหยุดขาดทุน
มีลูกค้าหลายเคสเข้ามาปรึกษาเรา กับปัญหาการทำงานเสียงดัง เครื่องจักรเสียงดังจนรบกวน เพื่อนบ้านผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง อยากแก้ไขปัญหาในการทำงานเกิดเสียงดัง มีการแก้ปัญหาหลายวิธีแต่ยังไม่สามารถป้องกันเสียงได้จริงต้องกลับมาแก้ไขปัญหาซ้ำ เกิดค่าใช้จ่ายตามมาและยังเสียเวลาในการทำงาน เสียพื้นที่ในการปรับปรุง อย่างที่เราเคยเน้นย้ำกันในหลายๆ บทความคือการให้ความสำคัญกับการวัดค่าเสียง และการสำรวจพื้นที่เพื่อหาจุดที่เกิดปัญหาขึ้นจริง โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านเสียง มาวางแผนและเลือกวัสดุที่เหมาะสมกันเสียงได้จริงตามความต้องการเป็นเรื่องที่สำคัญมาก และเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันคือผลกระทบที่เกิดขึ้นหากเสียงดังรบกวน ทำร้ายลูกจ้าง และเพื่อนบ้านใกล้เคียง สำหรับเสียงที่เกิดขึ้นในการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม มีกฏหมายรองรับชัดเจน มาดูกันว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร รู้ก่อนหยุดเสียงหยุดขาดทุน
กรมแรงงาน ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย จึงได้กำหนดมาตรฐานของระดับเสียงในสถานประกอบการต่างๆ เอาไว้ เพื่อเป็นการคุ้มครองลูกจ้าง โดยมีสาระสำคัญที่เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหลายต้องทราบ ดังต่อไปนี้
- ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ลูกจ้างต้องทำงานในจุดกำเนิดเสียงติดต่อกันเป็นเวลา ไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง ระดับเสียงในจุดกำเนิดต้องได้รับการควบคุมไม่ให้เกิน 91 เดซิเบล
- ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ลูกจ้างต้องทำงานในจุดกำเนิดเสียงติดต่อกันเป็นเวลา 7-8 ชั่วโมงต่อวัน ระดับเสียงในจุดกำเนิดต้องไม่เกิน 90 เดซิเบล
- หากลูกจ้างต้องทำงานในจุดกำเนิดเสียงติดต่อกันเป็นเวลายาวนานตั้งแต่ 8 ชั่วโมงต่อวันขึ้นไป ระดับเสียงในจุดกำเนิดเสียงต้องได้รับการควบคุมให้ไม่เกิน 80 เดซิเบล
- ห้ามลูกจ้างทำงานภายในบริเวณจุดกำเนิดเสียงที่มีระดับความดังของเสียง เกิน 140 เดซิเบลเด็ดขาด โดยผู้ประกอบการมีหน้าที่จัดการ กำกับ และดูแลควบคุมระดับของเสียงให้ได้ตามข้อกำหนด ถึงจะสามารถให้ลูกจ้างทำงานได้
วิธีลดปัญหาเสียงดังจากโรงงานอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพ
- ควบคุมแหล่งกำเนิดเสียง เลี่ยงเสียงดังอันตราย
เป็นการควบคุมปริมาณเสียงจากตัวแหล่งกำเนิดเสียงเอง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้เครื่องมือรุ่นที่ออกแบบมาเป็นพิเศษซึ่งทำงานได้โดยไม่ส่งเสียงดังเกินมาตรฐาน การออกแบบเครื่องจักร อุปกรณ์ หรือเครื่องมือต่างๆ ที่ช่วยลดเสียง รวมถึง ตรวจสอบกระบวนการผลิตอย่างละเอียด ว่ามีขั้นตอนใดที่ก่อให้เกิดเสียงดังบ้าง เผื่อจะได้ทำการแก้ไขหรือหาวิธีการอื่นทดแทนในขั้นตอนการผลิตนั้นๆ เพื่อให้เสียงลดลง นอกเหนือจากตัวเครื่องจักรและกระบวนการผลิตแล้ว อาจ หาวัสดุป้องกันเสียงมาปิดล้อมเพิ่ม หรือออกแบบห้องเก็บเสียงในโรงงานให้ได้มาตรฐาน เพื่อช่วยลดเสียงที่ลอดออกจากห้องเครื่องจักร รวมถึงติดตั้งวัสดุซับเสียงที่ผนังภายในของห้อง นอกจากนี้ควรตรวจสอบตำแหน่งของเครื่องจักรให้ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มั่นคง และตรวจสอบอุปกรณ์รองฐานเครื่องเพื่อป้องกันการสั่นสะเทือนของเครื่องจักร เช่น สปริง หรือยางรอง เป็นต้น หากเครื่องจักรไม่ได้ตั้งอยู่บนอุปกรณ์ป้องกันการสั่นสะเทือนที่เหมาะสมแล้ว แรงสั่นสะเทือนจากการทำงานจะยิ่งส่งผลให้เกิดเสียงดังมากขึ้น และยังเป็นอันตรายต่อบุคลากรรวมถึงบุคคลในพื้นที่ใกล้เคียงอีกด้วย การบำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอย่างสม่ำเสมอ คอยหยอดน้ำมันหล่อลื่นให้ไม่ฝืด เพื่อลดเสียงรบกวนจากการเสียดสีของเครื่องจักร รวมไปถึงเลือกใช้วัสดุที่ได้คุณภาพมาตรฐานในการสร้างห้องเก็บเสียงในโรงงาน
- ระยะจากแหล่งกำเนิดเสียง ห่างมากดังน้อย ห่างน้อยดังมาก ระยะห่างจากต้นกำเนิดเสียงยิ่งไกลมาๆ เสียงจะยิ่งเบาลง ดังนั้นการจัดวางตำแหน่งของเครื่องจักรหรือแหล่งกำเนิดเสียงให้ห่างจากผู้รับเสียงมากที่สุด จึงเป็นอีกวิธีที่ช่วยลดเสียงดังได้ โดยหลักแล้วระดับของเสียงจะลดลง 6 เดซิเบล ของทุกๆ ระยะทางที่เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ยกตัวอย่างเช่น เครื่องจักรห่างจากชุมชน 100 เมตร ส่งเสียงในระดับ 120 เดซิเบล หากขยับเครื่องจักรถอยออกห่างเป็น 200 เมตร ระดับเสียงจะลดลงไปอยู่ที่ 114 เดซิเบล เป็นต้น สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันเสียงได้ด้วยการ จัดทำห้องเก็บเสียงในโรงงานหรือกำแพงกั้น รวมถึง การใช้วัสดุป้องกันเสียงร่วมกับวัสดุดูดซับเสียงบริเวณที่เสียงเดินทางผ่าน ก็จะสามารถช่วยกรองและลดระดับความดังของเสียงลงได้ นอกจากนี้ภายในบริเวณพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมหรือพื้นที่ระหว่างห้องเครื่องจักรกับผู้รับเสียง หากสามารถ ปลูกต้นไม้ยืนต้นที่มีใบดกขึ้นปกคลุม ก็จะช่วยลดระดับของเสียงได้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและช่วยลดมลพิษบางส่วนในพื้นที่โรงงานไปด้วยพร้อมกัน
ปฏิเสธไม่ได้เลย เสียงดังจากโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในละแวกใกล้เคียงค่อนข้างมาก ตามที่เป็นปัญหาร้องเรียนให้เราเห็นกันตามหน้าหนังสือพิมพ์ แต่ทั้งนี้ อีกหนึ่งคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ “ลูกจ้าง” ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่กำเนิดเสียง ซึ่งอาจเป็นอันตรายจนถึงขั้นสูญเสียการได้ยินได้ หากทำงานอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับเสียงดังมากเกินไปแบบต่อเนื่อง จึงทำให้มีกฎหมายกำหนดให้สถานประกอบการต่างๆ ต้องมีการตรวจวัดระดับเสียงดังภายในสถานประกอบการ เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัยให้กับลูกจ้าง และเป็นการรักษาความสงบให้สังคมด้วยไปพร้อมๆ กัน ทั้งนี้ หากสถานประกอบการใดฝ่าฝืน ไม่ตรวจวัดระดับเสียงดัง หรือไม่มีการควบคุมเสียงให้เหมาะสมก็จะถือเป็นความผิดและได้รับบทลงโทษตามกฎหมาย มาแก้ปัญหาที่ต้นเหตุโดยผู้เชี่ยวชาญ Noisy machinery เครื่องจักรเสียงดังแก้ปัญหาไม่จบ รู้ก่อนหยุดเสียงหยุดขาดทุน
[…] Noisy machinery เครื่องจักรเสียงดังแก้ปัญหาไ… […]