Next architecture วงการก่อสร้างผงาด เทรนด์สถาปัตยกรรม หลังยุคโควิด

กระทบอย่างหนักกับวงการก่อสร้างและอสังหาฯ ในช่วงนี้โควิดทำพิษ กระทบกับเศรษฐกิจและเม็ดเงินกว่า 4 หมื่นล้าน ทำให้สถานการณ์ภาพรวมของตลาดธุรกิจสำนักงานให้เช่า หรือ ออฟฟิศ และธุรกิจโรงแรมต่างต้องประสบกับวิกฤตจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดภาวะชะงักของภาคธุรกิจโดยรวม และปัจจุบันเกือบทุกบริษัทหันมาใช้การทำงานรูปแบบ Work from home กันมากขึ้น ทำให้อาคารสำนักงานให้เช่าเริ่มเข้าสู่จุดเสี่ยง สิ่งที่น่าสนใจคือ ผู้ประกอบการเจ้าของอาคารหลายแห่งเริ่มมองหาตัวช่วยในการสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับอาคารของตนเพื่อดึงดูดผู้เช่าและผู้ใช้อาคารให้กลับมาดังเดิม รวมไปถึงสร้างความเชื่อมั่นเพื่อเชิญชวนผู้เช่ารายใหม่ ๆ เทรนด์สถาปัตยกรรม อาคาร สำนักงานรวมไปถึงอาคารที่พักอาศัย หลังยุคโควิด จะเปลี่ยนหน้าวงการ ทางออกใหม่ ไปในทิศทางไหน

Next architecture ของอาคารและสิ่งปลูกสร้าง หลังยุคโควิด

Intelligent Building: ปรับอาคาร และ ฟังก์ชันการใช้งานภายในอาคารให้มีความอัจฉริยะ โดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อมัดใจคนรุ่นใหม่ซึ่งเป็น Gen Me หรือ Millennials ซึ่งมีผลวิจัยว่าคนรุ่นใหม่ 69-78% ให้ความสำคัญกับ workplace มากกว่า benefit บางอย่างที่พวกเขาอาจไม่ได้ใช้

Healthy Building: ทำอาคารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้งานอาคารมีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพแข็งแรง และปลอดภัย รวมถึงการออกแบบพื้นที่ทำงานจะต้องก่อให้เกิดแรงบันดาลใจ ให้ความสะดวกสบาย และสร้างประสิทธิภาพและการเข้าถึงให้แก่ผู้ทำงานทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย และรวมถึงผู้ทุพลภาพในด้านต่าง ๆ ด้วย

Homey Environment: ออกแบบพื้นที่ภายในและนอกอาคารให้รู้สึกสะดวกสบายเหมือนอยู่บ้าน โดยเชื่อมโยงชีวิตกับสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน อาจใช้องค์ประกอบที่มีในธรรมชาติ มีพื้นที่ให้ผ่อนคลายจากการทำงาน มีพื้นที่หลากหลายตามแต่ความต้องการของการใช้พื้นที่ในแต่ละช่วงเวลา และคำนึงถึงระดับความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานด้วยเช่นกัน

Building Certification: ปรับพัฒนาอาคารตามมาตรฐานอาคารระดับโลก เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ใช้อาคาร จากการรับรองโดยสถาบันที่มีชื่อเสียง ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในเชิงการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร/อาคารนั้นได้มากขึ้น และยังส่งผลต่อค่าเช่าพื้นที่ที่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มได้มากกว่าอาคารทั่วไป

มาตรฐานอาคารเขียว (Green Building Certification)

นอกจากเพิ่มพื้นที่สีเขียวมากกว่า 30% แล้ว การทำอาคารเขียวยังทำให้โครงการได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าอาคารทั่วไป ทั้งยังช่วยลดการใช้พลังงานได้ 10 – 50% ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 30 – 40% และลดการใช้น้ำได้มากถึง 10 – 50% โดยขึ้นกับประเภทการรับรอง ระดับของการ Certify และพื้นที่ของโครงการด้วย ประโยชน์สูงสุดในการบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพให้กับอาคาร เพิ่มความคุ้มค่าและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน รวมถึงการดูแลรักษาและยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์และระบบต่าง ๆ ภายในอาคาร รวมถึงช่วยลดการใช้พลังงานตามมาตรฐานอาคารเขียวได้ตั้งแต่ 6-50% อีกด้วย

ภาพประกอบ :อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้การรับรองมาตรฐาน fitwel ระดับสูงสุด 3-star ในประเภท Single-Tenant

มาตรฐานอาคารเพื่อการมีสุขภาวะที่ดี (Well-Being Building)

มาตรฐานอาคารในด้านคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ใช้อาคารตามมาตรฐาน WELL และ fitwel โดยเป็นการวัดค่าความเป็นมิตรต่อคุณภาพชีวิตของผู้ใช้งานอาคาร ทั้งในด้านสภาวะแวดล้อมที่มีการควบคุมคุณภาพน้ำและอากาศให้บริสุทธิ์ ทั้งยังมีมาตรการลดการใช้วัสดุก่อสร้างที่มีส่วนประกอบของสารพิษที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ทำให้อาคารเอื้อต่อการทำงานและทำให้คนมีความสุขในการทำงานเพิ่มขึ้น ซึ่งหมายความว่า Productivity ในการทำงานก็ดียิ่งขึ้น ในกรณีที่เป็นอาคารให้เช่า ส่วนมากมักทำให้มีอัตราค่าเช่าอาคารที่สูงขึ้นด้วย

บริการออกแบบและให้คำปรึกษาโครงการเพื่อผู้สูงอายุและคนทุกวัย (Wellness Living Project)

เพื่อให้อาคารสิ่งปลูกสร้างสามารถรับมือกับสังคมสูงวัยที่กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ SCG Building and Living Care Consulting มีทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีองค์ความรู้เฉพาะทางให้บริการออกแบบและให้คำปรึกษากับโครงการที่รองรับผู้สูงอายุและคนทุกวัย ตามหลัก Universal Design (UD) หลักการออกแบบเพื่อคนทุกช่วงวัย (Gerontology) และการออกแบบแสงสว่างให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิต (Circadian lighting) โดยมีหลักการของงานวิจัยมารองรับ ทำให้ได้โครงการที่สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้ใช้อาคารและทำโครงการตามวัตถุประสงค์ของผู้ประกอบการให้เป็นไปด้วยความถูกต้อง และคำนึงถึงความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ เพื่อให้ได้ประโยชน์ที่คุ้มค่าสูงสุดของโครงการ

ภาพประกอบ :โครงการเฮลท์แคร์ SCG Building and Living Care Consulting

สถาปัตยกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมระดับโลก

Svart Hotel โรงแรมกลางหุบเขาโอบล้อมด้วยธารน้ำแข็งและทะเลสาบ โดดเด่นด้วยอาคารรูปทรงวงแหวนที่ออกแบบให้เหมาะกับการพักผ่อนอย่างแท้จริงพร้อมวิว 360 องศา และที่พิเศษไปกว่านั้นคือการพรีเซ็นต์ตัวในฐานะโรงแรมแห่งแรกของโลกที่ใช้พลังงานสีเขียวจากธรรมชาติเกือบ 100% โดยอาศัยความร้อนใต้พิภพและพลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตพลังงานต่างๆ เพื่อใช้ในโรงแรม และช่วยประหยัดพลังงานได้มากกว่าโรงแรมทั่วไปถึง 85% นอกจากนี้ในกระบวนการก่อสร้างยังใช้วัสดุจากท้องถิ่นที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น หิน และไม้ ที่ทนทานต่อสภาพอากาศ รวมทั้งวัสดุที่มีความยั่งยืนอื่นๆ

ASI Reisen Headquarters สำนักงานใหญ่ของบริษัทท่องเที่ยวและแทร็กกิ้งในประเทศออสเตรียถูกออกแบบด้วยแนวคิด Long-term Low Environmental Footprint หรือการลดกระทบต่อระบบนิเวศน์ในระยะยาว มีจุดเด่นอยู่ที่การนำ “ไม้” ที่ได้ชื่อว่าเป็นวัสดุที่มีความยั่งยืนมาเป็นวัสดุหลักทั้งก่อสร้างโครงสร้างและงานตกแต่งภายใน ส่งผลให้เกิดความเชื่อมโยงของธรรมชาติถึงผู้ใช้อาคารแบบทุกย่างก้าวในออฟฟิศ มีการออกแบบเปลือกอาคาร (Facade) ด้วยโครงเหล็กและตาข่ายเพื่อรองรับการเติบโตของไม้เลื้อยกว่า 118 สายพันธ์ุ ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นดั่งผ้าม่านผืนใหญ่คอยปกป้องสภาพอากาศภายในอาคารให้อยู่สบายไม่ว่าจะฤดูกาลไหน ทั้งยังมีการออกแบบหลังคาให้สามารถรับน้ำฝนและกักเก็บลงถังใต้ดินเพื่อหมุนเวียนใช้รดน้ำต้นไม้และสนามหญ้าที่อยู่ในอาณาเขตของออฟฟิศแห่งนี้อีกด้วย

Cube Berlin เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อปีที่แล้วสำหรับ Cube Berlin สถาปัตยกรรมที่เป็นทั้งปฏิมากรรม แลนด์มาร์คแห่งใหม่ และ Smart Office ที่ล้ำสมัยที่สุดในใจกลางกรุงเบอร์ลิน ความน่าสนใจของอาคารลูกบาศก์นี้น่าจะอยู่ที่วัสดุในการทำ Facade ซึ่งเป็นกระจกสะท้อนที่ทำให้เกิด Dynamic View ในทุกช่วงเวลา และยังเป็นตัวกลางช่วยให้กักแสงอาทิตย์ภายนอกไม่ให้รบกวนอุณหภูมิภายในอาคาร ยิ่งไปกว่านั้นตัวอาคารยังติดตั้งแอปพลิเคชันเพื่อศึกษาและจดจำพฤติกรรมของผู้ใช้อาคาร ก่อนวิเคราะห์ออกมาเป็นฟีเจอร์ควบคุมที่เหมาะกับแต่ละสถานการณ์ จนสามารถเป็นอาคารที่ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าอาคารสีเขียวทั่วไปถึง 25%

การกลับมาเอาใจใส่กับพื้นที่อยู่อาศัยกันมากยิ่งขึ้น ด้วยการเติมสิ่งที่สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้สีเขียว หรือการจัดสรรพื้นที่ที่สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากบ้านแต่ละหลังสู่ภาพรวมของชุมชน สถาปนิกและภูมิสถาปนิกเองก็ได้ทบทวนถึงรูปแบบอาคารที่ความต้องการใช้สอยตอบรับกับพฤติกรรมมากยิ่งขึ้น โดยเน้นที่ความปลอดภัย และสุขภาวะ การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ เป็นอาคารแบบยั่งยืน หลายประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ สร้างสถาปัตยกรรมสุดล้ำที่ทุกรายละเอียดถูกคิดมาอย่างแยบยล หวังว่าประชากรโลกจะเอาชนะโควิด-19 และอยู่ร่วมกับมันได้ ให้กลายเป็นโรคนึงที่ไม่น่ากลัว และในสภาวะที่ประเทศไทยยังได้รับผลกระทบอย่างหนัก วงการก่อสร้างและอสังหาฯ ต้องหยุดชะงัก ขอให้ทุกท่านผ่านพ้นไปได้อย่างเข้มแข็ง และกลับมาผงาดชนะโควิด-19 อีกครั้ง

Ref.  www.buildernews.in.th , www.kaidee.com , https://3xn.com/project/cube-berlin , www.prachachat.net