ในปัจจุบัน เครนไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ขนถ่ายวัตถุที่มีบทบาทมากในงานอุตสาหกรรมไทยที่ต้องมีการเคลื่อนย้ายวัตถุของที่มีน้ำหนักและระยะการเคลื่อนที่ที่แตกต่างกัน สิ่งหนึ่งที่ควรพิจารณาก่อนการสร้างหรือขยายโรงงานก็คือการเลือกใช้เครนหรือคานที่รับน้ำหนักการยกให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการใช้งานและมีความปลอดภัยในการใช้งานเป็นสำคัญ
นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงส่วนประกอบที่ใช้ยกน้ำหนักซึ่งประกอบด้วย ชนิดของรอก ลวดสลิง มอเตอร์ ให้เหมาะสมกับประเภทของงานที่ใช้ เช่น หากเป็นชิ้นงานเล็กน้ำหนักเบาอาจใช้เครนชนิดรอกโซ่มือสาวหรือรอกไฟฟ้า แต่ถ้าลักษณะงานที่มีน้ำหนักมากขึ้นต้องการความแข็งแรงและปลอดภัยก็ควรเลือกใช้เครนชนิดรอกสลิงไฟฟ้า
เครนโรงงาน (Overhead Cranes) หรือ เครนอุตสาหกรรม เรียกอีกอย่างว่าเครนเหนือศีรษะ สามารถปรับการทำงานได้ตามต้องการ สำหรับใช้งานในพื้นที่ภายในโรงงาน เครนโรงงานใช้สำหรับการเคลื่อนย้ายสินค้าที่มีการเคลื่อนที่ 6 ทิศทาง คือ ขึ้น-ลง ซ้าย-ขวา หน้า-หลัง มีทั้งแบบคานคู่ คานเดี่ยว ขึ้นกับขนาด (Capacity) และความกว้างของเครน (Span)
คานรับน้ำหนักของเครน (Box Girder) มีลักษณะเป็นโครงสร้างเหล็กซึ่งมีความยาวตามแนวขวางตามความกว้างของอาคาร หรือพื้นที่สำหรับใช้งาน คานของเครนนั้นจะมีคุณสมบัติไว้สำหรับรับน้ำหนักของชุดรอกไฟฟ้าเพื่อยกวัตถุที่มีน้ำหนัก ส่วนรางวิ่งเครน (Runway and Rails) จะใช้เป็นทางวิ่งของเครนเพื่อเป็นคานรองรับน้ำหนักที่ได้ยกขึ้นจากชุดเครนไฟฟ้าที่เคลื่อนตัวไปมา
ประเภทของเครนโรงงาน
เครนโรงงานรางเดี่ยว หรือเครนแบบคานเดี่ยว (Single Girder Cranes)
เครนรางเดี่ยวเหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ยกน้ำหนักไม่มาก โครงสร้างตัวเครนมีน้ำหนักเบา ใช้พื้นที่ความสูงจากรางวิ่งเครนถึงหลังคาไม่สูงมากนัก มีการติดตั้งรอกไฟฟ้าไว้ที่ใต้รางวิ่ง
- มีความกว้างใช้งานตั้งแต่ 6-25 เมตร
- มีน้ำหนักยกตั้งแต่ 1 ตัน ถึง 12.5 ตัน
- สามารถเคลื่อนที่ยกวัตถุได้ชิดซ้าย-ขวา มากขึ้น
- ระยะปลอดภัยอยู่ที่ประมาณ 1/6 ของความกว้างชุดเครนเท่านั้น
- ความเร็วในการใช้งานเครนที่เหมาะสม ควรแบ่งความเร็วออกเป็น 2 จังหวะ คือ จังหวะเคลื่อนที่ช้า และเร็วในทิศทางเดียวกัน
ประโยชน์การนำไปใช้งานเครนโรงงานรางเดี่ยว หรือเครนรางเดี่ยว
- เคลื่อนย้ายวัตถุดิบการผลิตสินค้า
- ช่วยอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายสิ่งของ
เครนรางคู่ หรือเครนแบบคานคู่ (Double Girder Crane)
เครนรางคู่ หรือเครนแบบคานคู่ จะมีการติดตั้งรอกไฟฟ้าไว้ที่ด้านบนระหว่างคานสองตัว เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ยกน้ำหนักที่หนัก ใช้สำหรับงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งมีไม่มากนัก เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสหกรรมเคมี และโรงไฟฟ้า เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบกับอุตหกรรมขนาดเล็ก เพราะมีโครงสร้างที่แข็งแรงและปลอดภัยกว่า
- มีความกว้างใช้งานตั้งแต่ 10-30 เมตร
- มีน้ำหนักยกตั้งแต่ 5 ตัน ถึง 50 ตัน
- โครงสร้างตัวเครนเป็นแบบคานคู่จึงมีน้ำหนักรวมโคงสร้างมากกว่าเครนแบบคานเดี่ยว
- ความเร็วในการใช้งานแบ่งเป็น 2 จังหวะ คือ จังหวะเคลื่อนที่ช้า และเร็วในทิศทางเดียวกัน แต่เมื่อต้องใช้เครนขนาดที่ใหญ่ขึ้น ก็ควรเลือกใช้ระบบความเร็วที่ช้ากว่าเครนขนาดเล็ก เพื่อการทำงานที่ปลอดภัย
ประโยชน์การนำไปใช้งนเครนโรงงานรางคู่
- เคลื่อนย้ายวัตถุดิบการผลิตสินค้า
- ช่วยอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายสิ่งของ
เครนสนามขาสูง 2 ข้าง (Gantry Cranes) และเครนสนามขาสูงข้างเดียว (Semi Gantry Cranes)
ใช้ในโรงงานที่ไม่ได้เตรียมโครงสร้างเสาไว้เพื่อรับเครนเหนือศีรษะหรือใช้ในบริเววณพื้นที่กลางแจ้ง เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนโครงสร้างคอนกรีต โรงงานผลิตเสาเข็ม
เครนแขนหมุน (Jib Crane)
เป็นเครนที่ออกแบบให้มีแขนที่สามารถหมุนได้รอบตัว โดยทำมุมตั้งแต่ 90-360 องศา ยกน้ำหนักได้ประมาณ 125-10,000 กิโลกรัม ส่วนใหญ่ใช้ภายในโรงงาน เหมาะสำหรับการยกวัตถุงานหรือสินค้าเฉพาะที่ที่มีรอบวงรัศมีความยาวของวงแหวนที่ยื่นหมุนตามรัศมีของชุดเครน แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ เครนตั้งเสายื่นแขนหมุน กับเครนติดผนังยื่นแขนหมุน
เครนติดผนังยื่นแขนยก (Well Travelling Crane)
เป็นเครนที่ติดตั้งไว้ที่ราววิ่งไว้กับเสาข้างผนังโรงงาน และมีชุดคานเครนที่ยื่นออกมาอิสระเพื่อยกสิ่งของหรือสินค้า ซึ่งการใช้งานเหมาะสำหรับงานยกสิ่งของหรือสินค้าตามความยาวตลอดแนวด้านข้างของผนังตัวอาคารโรงงาน เช่นเดียวกับเครนสนามขาสูงข้างเดียวแต่มีความสะดวกมากกว่า
เครนรางเลื่อนไฟฟ้าแบบรางเดี่ยว (Monorail Crane)
เป็นรอกติดตั้งและเคลื่อนที่ตามรางวิ่งที่ติดตั้งตามสภาพโครงสร้างของกระบวนการผลิต ตัวรางจะสามารถออกแบบเป็นเส้นตรงหรือคดโค้งตามสภาพพื้นที่ที่ต้องการทำงานได้ เหมาะสำหรับโรงงานหรือสถานที่ที่ต้องการใช้เครนเพื่อให้ผ่านแค่บางพื้นที่ โดยการต้องให้หยุดในสถานีผลิต ใช้สำหรับงานยกน้ำหนักประมาณ 500-3,000 กิโลกรัม
เครนเหนือศีรษะแบบใต้รางวิ่ง (Suspension Crane)
เครนประเภทนี้จะมีการติดตั้งคานล้อให้อยู่ด้านใต้ของรางโดยเครน 1 ตัวอาจจะใช้ชุดคานล้อมากกว่า 2 ชุดเพื่อที่จะช่วยกันรับน้ำหนักรางเครน โดนสามารถออกแบบสร้างได้ทั้งแบบคานเดี่ยวและแบบคานคู่เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมบางอย่างที่ต้องการใช้พื้นที่ด้านล่างกว้างมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เช่น โรงจอดซ่อมเครื่องบินขนาดใหญ่ เป็นต้น
เครนกันระเบิด (Explosion-Proof Crane)
ในระบบกันระเบิดซึ่งสามารถนำไปใช้กับอุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
Key takeaways:
หลังจากรู้จักกับเครนแต่ละประเภทกันแล้ว จะเห็นว่าเครนแต่ละประเภทมีลักษณะการใช้งานแตกต่างกัน อาจสรุปได้ว่าปัจจัยในการเลือกใช้เครนจะประกอบด้วย การรับน้ำหนัก พื้นที่หน้ากว้างของโรงงาน และความยากง่ายของการซ่อมบำรุง ทั้งนี้เราควรเลือกใช้เครนที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของเรา เพื่อให้โรงงานหรือโกดังของเรามีประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเอง
- เครนโรงงาน (Overhead Cranes) – เรียกอีกอย่างว่าเครนเหนือศีรษะ ใช้สำหรับการเคลื่อนย้ายสินค้าที่มีการเคลื่อนที่ 6 ทิศทาง คือ ขึ้น-ลง ซ้าย-ขวา หน้า-หลัง
- เครนโรงงานรางเดี่ยว หรือเครนแบบคานเดี่ยว (Single Girder Cranes) – เหมาะกับงานน้ำหนักเบา
- เครนรางคู่ หรือเครนแบบคานคู่ (Double Girder Crane) – เหมาะกับงานน้ำหนักมาก
- เครนสนามขาสูง 2 ข้าง (Gantry Cranes) และเครนสนามขาสูงข้างเดียว (Semi Gantry Cranes) – เหมาะกับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนโครงสร้างคอนกรีต เสาเข็ม
- เครนแขนหมุน (Jib Crane) – ยกน้ำหนักได้ประมาณ 125-10,000 กิโลกรัม
- เครนติดผนังยื่นแขนยก (Well Travelling Crane) – เหมาะสำหรับงานยกสิ่งของหรือสินค้าตามความยาวตลอดแนวด้านข้างของผนังตัวอาคารโรงงาน
- เครนรางเลื่อนไฟฟ้าแบบรางเดี่ยว (Monorail Crane) – เหมาะสำหรับโรงงานหรือสถานที่ที่ต้องการใช้เครนเพื่อให้ผ่านแค่บางพื้นที่ โดยการต้องให้หยุดในสถานีผลิต ใช้สำหรับงานยกน้ำหนักประมาณ 500-3,000 กิโลกรัม
- เครนเหนือศีรษะแบบใต้รางวิ่ง (Suspension Crane) – เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมบางอย่างที่ต้องการใช้พื้นที่ด้านล่างกว้างมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
- เครนกันระเบิด (Explosion-Proof Crane) – ใช้กับอุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
ขอบคุณแหล่งที่มา: www.research-system.siam.edu, ราคาเครนโรงงาน.com